“ผู้จัดการสวนลำไย” การปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมในกระแสโลกาภิวัตน์
คำสำคัญ:
วิถีเกษตรกรรม, ชาวสวนลำไย, การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต, การเปลี่ยนแปลงการเกษตรกรรม, ผู้จัดการสวนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอความเป็นพลวัตในการปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมของเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2557- 2559 ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่ทำให้ระบบอาหารกลายเป็นระบบอาหารโลก ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ใช้แนวคิดการข้ามชาติ (Transnationalism) ของ David Harvey (2003) ที่เสนอลักษณะการข้ามชาติ Spatio-temporal fix และแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรม (agrarian transformations) มาเป็นกรอบในการทำความเข้าใจ พบว่า ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดการเชื่อมระบบอาหารโลก พื้นที่ที่ห่างไกลเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกด้วย การผลิตในพื้นถิ่นเชื่อมโยงเข้ากับตลาดข้ามแดน แรงงานข้ามแดน และการสะสมทุนของทุนข้ามแดน เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การผลิตแบบดั้งเดิมเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกข้ามแดน และทำให้วิถีการผลิตของเกษตรกรปรับเปลี่ยนไป โดยมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้ผลิต” เป็น “ผู้จัดการสวน” และสร้างกลยุทธ์ที่หลากหลายในการทำเกษตรกรรม เช่น ลดการใช้แรงงานตนเองในการผลิตลง การจ้างแรง การจ้างเหมาในการผลิต
คำสำคัญ: วิถีเกษตรกรรม, ชาวสวนลำไย, การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต, การเปลี่ยนแปลงการเกษตรกรรม, ผู้จัดการสวน