การวิเคราะห์หลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้

Main Article Content

พิชัย แก้วบุตร

บทคัดย่อ

หลักสูตรเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการศึกษาว่าด้วยเรื่องการวางแผนและการเสนอแนะแนวทางเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นเข็มทิศในการนำพาผู้เรียนให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ บทความวิจัยเรื่องนี้มี จุดประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดบกพร่องของหลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้ (2) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวต่อไป


ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้ มีการจัดทำที่เป็นระบบและเป็นมาตรฐานตามโครงสร้างการจัดทำหลักสูตร และมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งเป็นจุดเด่นของหลักสูตร ในส่วนจุดบกพร่องที่ควรปรับปรุงคือ ความร่วมมือในภาพรวมของโรงเรียนในภูมิภาคภาคใต้ควรครอบคลุมทั้งภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง อีกทั้งควรขยายหลักสูตรให้ครอบคลุมถึงระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา     ตอนต้นเพื่อลดปัญหาความไม่ต่อเนื่องของการเรียน ยกเลิกสาระการเรียนรู้ซ้ำซ้อนที่มีการเริ่มต้นเรียนภาษาจีนใหม่ในทุกช่วงชั้น รวมทั้งส่งเสริมให้หลักสูตรดังกล่าวมีการนำไปประยุกต์ใช้ในสังกัดอื่น ๆ อย่างแพร่หลายเพื่อความเข้มแข็งของภาษาจีนในภูมิภาคภาคใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Academic Affairs and Educational Standards Bureau, Office of Basic Education Commission, Ministry of Education. (2013). Indicators and Chinese language learning strands following the basic education core curriculum 2008 in learning area of foreign languages. Bangkok: Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel Printing House.

Boonsong, K. (2008). Curriculum development and teaching development [Mimeograph]. Phetchaburi: Faculty of Education, Phetchaburi Rajabhat University.

Brady, L. (1995). Curriculum development, 5th edn. Sydney: Prentice-Hall.

Bua-Sri, T. (1999). Curriculum theories: design and development. Bangkok: Tanathach Printing House.

Kaewbut, P. & Nitnara A. (2016). The current situation and development guidelines of the Chinese instruction in public schools. In J. Sanchai (Ed.), Proceeding of the 8th National Academic Conference: “Research and Innovation for Globalization” (pp. 70). Phuket: Phuket Rajabhat University.

Kaewbut, P. (2020). Research report for a study of guideline of high school Chinese curriculum construction in southern Thailand. Surat Thani: Prince of Songkla University.

Kaewbut, P. (2019). Language policy to distribute Chinese and culture via HSK test. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences). 14(2), 307 - 325.

Kaewbut, P. (2020). Students' attention to the additional activities outside the Chinese class: case study of students that study Chinese Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences). 12(23), 27 - 38.

Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum 2008. Bangkok: Printing Cooperative of Thailand.

Srisa-ard, B. (2003). The development of the curriculum and curriculum research. Bangkok: Suveeriyasart Press.

Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt Brace.