แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

Main Article Content

อมรศักดิ์ เงาะผล
ดร.วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร

บทคัดย่อ

            การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับคุณภาพการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา 2)ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ 3)แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประชากรคือ ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม


                ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงาในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีคุณภาพสูงสุด คือด้านการวางแผน รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติ ด้านที่มีคุณภาพต่ำสุดคือ ด้านการปรับปรุงแก้ไข สำหรับปัญหาการพัฒนาคุณภาพการจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ พบว่า แต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการที่แตกต่าง เนื่องจากการจัดสรรทรัพยากรไม่เท่ากัน สถานที่ตั้งอยู่ต่างพื้นที่ สภาพกายภาพต่างกัน และระบบวิธีการสอนไม่เหมือนกัน ทำให้มาตรฐานคุณภาพของนักเรียนไม่เท่าเทียมกัน ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลขาดการให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วน        ตำบลโคกเจริญ


                แนวทางการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ ควรยุบรวมศูนย์ เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอน ลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน ทำให้การเรียนการสอนเป็นมาตรฐาน เดียวกัน และคุณภาพของเด็กนักเรียนเท่ากัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร อุณาพรหม. (2552). การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กุลการ แข็งแอ. (2557). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ช่อ สันธนพิพัฒน์. (2553). การศึกษารูปแบบบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบน่าอยู่ การวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กต้นแบบน่าอยู่ดีเด่นโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน สู่ความเป็นเลิศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชำนาญ ไวแสน. (2549). การประยุกต์ใช้วัฎจักรเดมิ่งในการจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิตยา วัดสว่าง. (2558). ประสิทธิผลการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.

ภิรมย์ ขำดี. (2557). การดำเนินงานตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรเดมมิ่งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

มาริน โป๊ะเงิน. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2545). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในผู้จัดการรายวัน. กรุงเทพฯ : เนตรนิมิตการพิมพ์.

สมคิด พรมจุ้ย และสุพักตร์ พิบูลย์ .(2554). การจัดการคุณภาพองค์การ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

สมพร วงศ์วิธูน. (2555). การบริหารงานแนะแนวโดยใช้วงจรเดมมิ่ (PDCA) ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรพันธ์ ยันต์ทอง. (2553). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.