การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่ม ของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

Main Article Content

พุฒิศักดิ์ แนวทอง
องอาจ นัยพัฒน์
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นระหว่างครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,300 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตรประเมิน 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ จิตสำนึกกลุ่ม ความไว้วางใจในกลุ่ม การสื่อสารในกลุ่ม การสนับสนุนทางอารมณ์ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และ ความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมทั้งฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.928 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.315 ถึง 0.787 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า


                1.โมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ( =4.040,p=0.671, =6, =0.673,GFI=.990,AGFI=1.000,CFI=1.000, SRMR=0.011, RMSEA=0.000)


                2.โมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างกลุ่มครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บน  ตัวแปรแฝงภายนอก( ) ( =35.29, =34,p=.407, =1.038, RMSEA =.011, GFI=.990, CFI= 1.00, RFI=.980) ดังนั้นโมเดลการวัดภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นจึงมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ศิลา.(2556).การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต บางเขน.สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2554). “การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดระหว่างกลุ่มผู้ ถูกวัดด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง”.วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.1(1):69-80.

ประวิตร โหรา.(2551).คุณลักษณะผู้นำของผู้นำบริหารหญิงตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร.

พุฒิศักดิ์ แนวทอง,องอาจ นัยพัฒน์ และอรอุมา เจริญสุข.(กำลังจัดพิมพ์). “การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำกลุ่มของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร”.วารสารวิจัยพฤติกรรมกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา,ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 สิงหาคม 2560.

ไพวรัญ รัตนพันธ์.(2556). “โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู : การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.(9)2:380-393.

วรัญญา แดงสนิท.(2556).“ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล”.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.(9)2:307-319.

วิทยาธร เชียงกูล.(2553).ศาสตร์และศิลปะในการเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่. กรุงเทพฯ:สายธาร.

สุภมาส อังศุโชติ,สมถวิล วิจิตรวรรณาและรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์.(2554).สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

องอาจ นัยพัฒน์(บรรณาธิการ).(2557).ทิศทางใหม่ของการวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา : การวิจัยสถาบันกับกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่อนาคต. กรุงเทพฯ: วงตะวัน.

อนุวัฒน์ วิภาคธำรงคุณ.(2553).การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร.

Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.

Bush,T. (2003). Theories of Educational Management. 3rd ed. London: Sage.

Chen,M. ,Liou,Y., Wang,C.-W., Fan,Y. W., Chie,Y.P.J. (2007). “Team Spirit: Design, implementation, and evaluation of a Web-based group decision support system”. Decision Support Systems,43(4):1186-1202

Chirichello, M. (2004). Collective leadership: Reinventing the principalship. Kappa Delta Pi Record,40(3) : 119-123. Cornfield, D. B., Campbell, K. E., & McCammon, H. J. (2001). Working in restructured workplaces: Challenges and new directions for the sociology of work. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications.

Foster, R.D. (1991). “The case of the team-spirit tailspin”. Harvard Business Review, 69(1):14–16,18.

Friedrich,Tamara.L., Griffith,Jennifer. A.,& Mumford,Michael.D.(2016).“Collective leadership behaviors: Evaluating the leader, team network, and problem situation characteristics that influence their use”.The Leadership Quarterly,27:312–333.

Greenwood, R.M.(2008). “Intersectional Political Consciousness: Appreciation for Intragroup Differences and Solidarity in Diverse Groups”. Psychology of Women Quarterly,32(1):36–47.

Hackman, J.R. (2012). “From causes to conditions in group research”. Journal of Organizational Behavior, 33(3):428–444.

Hiller,N.J., Day,D.V.,& Vance,R.J.(2006). “Collective enactment of leadership roles and team effectiveness: A field study” .The Leadership Quarterly,17:387–397.

Johnson, T., Martin, A.J., Palmer, F. R.., Watson, P. L ,.(2012). “Collective Leadership: A Case Study of the All Blacks”, Asia-Pacific Management and Business Application.1(1):53–67.

Kramer, M.W.,& Crespy,D. A.(2011).“Communicating collaborative leadership”. Leadership Quarterly, 22:1024-1037.

Silva,T, Cunha,M, Clegg,SR, Neves,P, Rego,A, Rodrigues,RA.(2014). “Smells like team spirit: Opening a paradoxical black box”. Human Relations, 67(3):287-310.

Tabachnick, B.G.& Fidell, L.S.(2012). Using Multivariate Statistics.6thed.Boston:Pearson New International Edition.

Terek.Edit ,Nikolic.Milan ,Gligorovic. Bojana,Glusac.Dragana & Tasic, Ivan.(2015). “The Impact of Leadership on the Communication Satisfaction of Primary School Teachers in Serbia”. Educational Sciences : Theory & Practice.15(1):73-84.