ความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ของเทศบาลเมืองกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

กรณรัช คณานุรักษ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ และแนวทางการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองกะทู้  อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในเทศบาลเมืองกะทู้ จำนวน 164  คน และผู้ทรงคุณวุฒิของเทศบาลเมืองกะทู้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การที่เทศบาล ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงทีตามความต้องการของประชาชน บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติงาน ช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างเทศบาลกับประชาชนยังไม่กว้างขวาง ข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร  ทุกระดับให้สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเทศบาลให้ประชาชนและบุคลากรโดยทั่วไปทราบอย่างกว้างขวาง เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน และแนวทางการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ได้แก่ ยึดหลักการในการเข้าถึงประชาชน มีหลักธรรมาภิบาล มีความยุติธรรม โปร่งใส เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ และส่งเสริมภาคีเครือข่ายการร่วม กิจกรรมต่างๆ     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์สามลดา.

กัลยา ทรัพย์มา. (2557). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบล บางกร่าง อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 1 (1), 76-83

โกวิทย์ พวงงาม .(2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์การกระจายอำนาจ และการบริหารงานท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพ ฯ : เสมาธรรม. เทศบาลตำบลกะทู้. (2559). รายงานกิจการสภา. [Online]. Available : http://kathucity.go.th/public/councilactivity/data/index/menu/151. [2559, กันยายน 14]

นาวีรัตน์ จำจด. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีกรมการ พัฒนาชุมชนในสังกัดส่วนกลาง.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิสวันต์ พิชญ์ดำรง. (2551). การบริหารจัดการที่ดีความหมายและแนวคิด. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 45 (3), 73-79.

เนาวรัตน์ พุ่มจันทร์. (2550). ความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาล กรณีศึกษาเทศบาลจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น.

วรเดช จันทรศร.. 2551. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พริกหวานราฟฟิค.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จิราภา.

อนุทิน เพ็ญพาณิชย์. (2556). ความเข้าใจต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของ ผูบริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยทองสุข.

George A. L.(1999). THE NEW PUBLIC MANAGEMENT APPROACH AND CRISIS STATES, Switzerland, pp. 12-17.