การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์และ ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ศิริพล แสนบุญส่ง
ธันว์รัชต์ สินธนะกุล
กฤช สินธนะกุล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน ผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2)ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน ผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิธีดำเนินการวิจัยมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ร่างกรอบแนวคิดและสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน 3) สร้างเครื่องมือเพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอน 4) กำหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญสำหรับการอภิปรายกลุ่ม 5) จัดประชุมเพื่ออภิปรายกลุ่มและประเมินรูปแบบการเรียนการสอน 6) สรุปผล และวิเคราะห์ข้อมูล และ 7) ปรับปรุงแก้ไข


                ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) การเตรียมการ 2) การศึกษาเนื้อหา 3) การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน 4) การประเมินผล 5) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ และ 6) คลาวด์คอมพิวติง ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้สอนด้านคอมพิวเตอร์และด้านการศึกษา จำนวน 13 คน พบว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดให้การยอมรับรูปแบบการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก (   = 4.47, S.D. = 0.60) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณี สงสวัสดิ์, วิมลรัตน์ จตุรานนท์, สุนทร บำเรอราช. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสารการศึกษาและการพัฒนา สังคม. 10(1) : 151-164 .

กุลชัย กุลตวนิช. (2557). ระบบการเรียนบนห้องเรียนเสมือนแบบคลาวด์ตามแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการรู้สารสนเทศ สำหรับนิสิต
นักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญตา บุญวาศ. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาล ด้วยการสร้างความรู้แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนใน ระดับ อุดมศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 25(3) : 19-34.
.
ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการเรียนการ สอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กิจกรรม WebQuest เพื่อพัฒนาทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(1) : 151-158.

ภัทรานิษฐ์ ศรีสกลทรัพย์ และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการเรียน แบบร่วมมือโดยเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์ อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(2) : 12-18.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ (Design and Development of Computer Instruction). กรุงเทพฯ: พี ที เอ เบสท์ซัพพลาย.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2557). ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษา ระบบ 4.0. รายงานผลการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. วารสาร เทคโนโลยีสุรนารี. 9(2) : 133-156.

วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครู สู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์.พริ้ นติ้ง แมสโปรดักส์.

วัชรี แซงบุญเรือง, ประวิทย์ สิมมาทัน และกนก สมะวรรธนะ. (2559). การสังเคราะห์ รูปแบบสภาพแวดล้อมทางการเรียนเสมือนจริงบนเว็บตามแนวคอนสตรัคติ วิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(1) : 43-51.

ศิริพล แสนบุญส่ง และมนต์ชัย เทียนทอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการ สอนแบบโครงงานเป็นฐาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อ ส่งเสริมโครงงานสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี. ในการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ 2559 วันที่ 31 สิงหาคม 2559. หน้า 80-90. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สมาน ถาวรรัตนวณิช. (2541). ผลของการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาที่มีต่อ ความคิด สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2549). การพัฒนากระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียน ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) โดยความร่วมมือ ของครูและนักการศึกษา. รายงานวิจัยโครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุน ทั่วไป คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวัฒน์ นิยมไทย. (2554). การเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็น ฐานในสถานประกอบการ: แนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 1(2) : 57-64.

สิทธิชัย ลายเสมา. (2557). ระบบการเรียนรู้ร่วมกันด้วยทีมเสมือนจริงใน สภาพแวดล้อมการเรียนแบบภควันตภาพโดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการ ทำงานร่วมกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อภิดา รุณวาทย์. (2552). การสังเคราะห์รูปแบบการทำความเข้าใจจากการเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาจากหลักการ CLEs. วารสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(10) : 19-25.

อรรถสิทธิ์ ตันติวิรัชกุล, อิมรอน มะลูลีม, นัยนา เกิดวิชัย, และจรัญ มะลูลีม. (2555). สัมฤทธิผลของนโยบายการปฏิรูปการศึกษามหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 8(2) : 79-99.

Besemer , S.P., & O'Quin, K. (1989). The development, reliability and validity of the revised creative product semantic scale. Creativity Research Journal. 2 : 268-279.

Ercan, T. (2010). Effective use of cloud computing in educational institutions. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2(2) : 938-942.

Friend, M. and Cook, L. (1992). Interactions: Collaboration Skills for School Professionals. 5th ed. Boston : Pearson/Allyn & Bacon.

Harkins, A. M. (2008). Leapfrog principles and practices: Core components of education 3.0 and 4.0. Futures Research Quarterly. 24(1) : 19-31.

Jonassen, D. H. (1999). Designing constructivist learning environments. Instructional design theories and models: A new paradigm of instructional theory. 2, 215-239.

Mell, P., & Grace, T. (2011). The NIST Definition of Cloud Computing: Recommendations of the National Institute of Standards and Technology. NIST Special Publication, 800-145.

Puncreobutr, V. (2016). Education 4.0: New Challenge of Learning. St Theresa Journal of Humanities and Social Sciences. 2(2) : 92-97.

Randy I. D., Ken, K. and Alan B. (2014). 21st Century Skills in Career and Technical Education Resource Manual. [On-line]. Available : http://www.k12.wa.us/CareerTechEd/pubdocs/21stCenturySkillsinCTE ResourceManual.pdf (2017, Apr. 1).