แนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศราวุฒิ หลวงนวน
วารุณี ลัภนโชคดี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาคุณภาพของแนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ครูที่ทดลองใช้แนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้มี 3 ประเภท ประกอบด้วย แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และใบงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. แนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายของแนวทางการประเมิน 2) ขั้นการออกแบบการประเมิน 3) ขั้นการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 4) ขั้นการดำเนินการประเมิน และ 5) ขั้นการรายงานและนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ เป็นการแจ้งผลการประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนนำผลการประเมินไปพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของตนเอง และครูนำผลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

  2. ผลการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีรายละเอียดดังนี้ 1) ผลการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการทำแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้นกลังการใช้แนวทางการประเมิน โดยมีร้อยละของคะแนนพัฒนาการตั้งแต่ 6.67 – 66.67 2) ผลการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามองค์ประกอบของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกองค์ประกอบของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  3. คุณภาพของแนวทางการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่บูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แนวทางการประเมินฯ มีประโยชน์ต่อครูทั้งความสะดวกในการใช้แนวทางการประเมินฯ และสามารถนำผลของการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และนักเรียนได้ข้อมูลย้อนกลับไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chotika, P., Natthaphon L., and Kamonwan T. (2015). Measurement and evaluation of learning. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kriengsak, C. (2012). Critical thinking. Edition 9. Bangkok: Success Media Co., Ltd.

Ministry of Education. (2007). Problem-based learning management. Bangkok: Publishing House of the Agricultural Cooperatives Association of Thailand, Office of Academic and Educational Standards Office of the Basic Education Commission.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Publishing House, Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Ministry of Education. (2014). Guidelines for measuring and evaluating learning outcomes According to the basic education core curriculum, BE 2551., 4th edition, Bangkok: Publishing House, Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Office of Academic and Educational Standards Office of the Basic Education Commission, Ministry Education. 2014. Guidelines for measuring and evaluating learning outcomes according to the core curriculum. Basic education 2008, 4th edition. Bangkok: Rally printing house. Agricultural Cooperatives of Thailand.

Office of the Basic Education Commission (2005). Dreaming by thinking. Bangkok: Sema Tham Publishing House, Office of the Education Council Secretariat.

Office of the Education Council Secretariat Ministry of Education. (2007). Problem-based learning management. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Prapunsiri, S. (2008). Development of thinking. 2nd edition, Bangkok: Printing Company, 9119 Technical Printing Limited Partnership.

Ratree, N. (2010). Principles of measurement and evaluation of studies. (Revised version). Bangkok: Point Thong Co., Ltd.

Sirichai, K. (2013). Traditional testing theory. 7th edition.Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Siridej, S. (2003). “Principles of Learning Assessment”. Suwimol Wongwanich (Editor). Evaluation of new learning. (p.53 – 64). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Somsak, S. (2002). Measurement and evaluation of learning. Bangkok: Wattana Panich Publishing Company Limited.

Sukhon, S. (2015). Learning Management of Modern Teachers to Develop Learners in the 21st Century. Bangkok: 9119 Printing Techniques.

Suwit, M. (2007). Teaching Strategies for Critical Thinking. 4th edition. Bangkok: Printmaking Limited Partnership.

Suwit, M. (2011). Complete thinking tools. Edition 12. Bangkok: Printmaking Limited Partnership.

Thitna, K. (2010). Science of teaching knowledge for organizing the learning process Effective. 12th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Walai, I. (2012). Social Studies Teacher and Student Skill Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.