การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน

Main Article Content

แอนนา สำราญ
วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร
อเนก เหล่าธรรมทัศน์

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและความสำคัญของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน ศักยภาพและอุปสรรคข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามันโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 22 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์วัฒนธรรมและความสำคัญ ศักยภาพอุปสรรคข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน ภายใต้ข้อถกเถียงว่าควรส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามันสู่ระดับภูมิภาคได้อย่างไร


            ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามันได้      การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนอกจากจะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจแล้ว ยังมีความสำคัญในการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ศักยภาพและอุปสรรคข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน พบว่ามีอยู่ 4 ด้าน คือ อุปสรรคและข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว อุปสรรคและข้อจำกัดในการบริหารจัดการ อุปสรรคและข้อจำกัดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว อุปสรรคและข้อจำกัดเกี่ยวกับความร่วมมือของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่วนแนวทางการพัฒนาของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งอันดามัน ได้แก่ 1) ด้านการผลักดันจังหวัดฝั่งอันดามันเป็นศูนย์กลางความหลากหลายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเฉพาะ 2) ด้านการสร้างกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ชุมชนและเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนฐานของทุนทางสังคมวัฒนธรรม 3) ด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดฝั่งอันดามันให้สามารถรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวอย่างเพียงพอและเหมาะสม 4) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยว และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน


การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดฝั่งอันดามัน 5) ด้านการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดฝั่งอันดามันสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buakwan, Narawadee.,Visuthisamajarn. Parichart., &Viriyakorn, Amporn.m(2008). CulturalTourism Guidelines in Klonghae Floating Market, Thailand. International Journal of Management & Information System-Third Quarter, 17(3), 163–168.

Chuaybamrung T. (2014). Tourism Seminar. TAT Tourism Journal. 3(4) : 40-59. [in Thai]

Chittungwatana B. and Srichapha P. (2557). Sustainable Tourism Development (2nd ed.). Bangkok : The Tourism Authority of Thailand. [in Thai]

Choophon P. (2009).Tackle the World Heritage Port Puzzles and shortcuts to the Gulf of Thailand. [Online] Available : http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&
id=263& Itemid=5 [2017, January 19] [in Thai]

Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. (2009). Guidelines for Assessing the Quality of Tourism for Fiscal Year(2009.)Bangkok : Ministry of Tourism and Sports.

Laothamatas A. (2015). City : Think back to the Future. Bangkok : Mata co.,Ltd. [in Thai]

_______. (2017). Popular City: The city of Thailand is our home. Bangkok : Watcharin P.P.. [in Thai]

MGRonline.(2561).Amazing Thailand Go Local. [Online]. Available:http://www.mgronline.com/travel/detail/9610000001023 [2018, May 18] [in Thai]

Phosita, C. (2009). Science and art for qualitative research (4th Ed.). Bangkok : Amarin Printing and Publishing Co., Ltd. [in Thai]

Pillavas T.(2013).The Tourism Industry Strategies for Community Economy Development in the Andaman Triangle. RMUTT Global Business and Economics Review. 8(1) : 88. [in Thai]

Pirasan, Jirawat. & others. (2013). The Development of Tourist Destinations for Cultural Participation of the Community in Phitsanulok. Bangkok : The Thailand Research Fund (TRF).

Ratanuwongchai N. (2010).Tourism Development. Bangkok : Faculty of Humanities, Kasetsart University. [in Thai]

Smith, Melanie K. (2009). Issues in Cultural Tourism Studies (2nd ed.). New York : Routledge.

Tourism Development Board of Andaman Tourism Development Area.(2016). Tourism Development Plan in Andaman Tourism Development Area, 2016 - 2020. Bangkok : Tourism Development Board, Andaman Tourism Development Area. [in Thai]

Watcharangkul A.(2012).Southeast Asian marine trade. Damrong Rajanuphab Journal. 12(44) : 100.