การดูแลมุสลิมใหม่ในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามันหลังเข้ารับอิสลาม

Main Article Content

ปริญญา ประหยัดทรัพย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเข้ารับอิสลาม การดูแลมุสลิมใหม่หลังเข้ารับอิสลามในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน 5 จังหวัดทั้งชายและหญิงที่เข้ารับอิสลามในช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2560 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารโดยการบันทึกและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า การเข้ารับอิสลามของมุสลิมใหม่ในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน 5 จังหวัดมีความสอดคล้องกันกล่าวคือมาจากสาเหตุการแต่งงานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเข้ารับอิสลามของมุสลิมใหม่เนื่องจากการศึกษาเรียนรู้มาก่อนนั้นมีจำนวนน้อย ดังนั้นไม่ว่ามุสลิมใหม่ที่ได้เข้ารับอิสลามจะด้วยสาเหตุการแต่งงานหรืออื่นใดก็ตาม จะต้องได้รับการดูแลจากผู้นำศาสนาในชุมชนและครอบครัวของมุสลิมใหม่เป็นสำคัญ ซึ่งการดูแลมุสลิมใหม่หลังเข้ารับอิสลามนั้นผู้วิจัยพบว่า หลังจากที่มุสลิมใหม่เปลี่ยนความเชื่อในศาสนาเดิมที่ตนเองเคยนับถือมาก่อน มาสู่ความเชื่อในศาสนาอิสลามแล้ว มุสลิมใหม่ ก็ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้นำทางศาสนาในชุมชนเป็นอย่างดี โดยที่มัสยิดได้เปิดการอบรมหลักสูตรศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐานขึ้นมา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลักความเชื่อความศรัทธาในศาสนาอิสลาม ความรู้เบื้องต้นในหลักทฤษฎีและการปฏิบัติศาสนกิจเช่นการปฏิบัติละหมาด 5 เวลา ได้แก่ เวลาบ่าย เวลาเย็น เวลาหลังดวงอาทิตย์ตก เวลากลางคืนและเวลารุ่งอรุณ รวมถึงการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนและหลักคุณธรรมจริยธรรมด้วยนั้น มุสลิมใหม่ในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน 5 จังหวัด แต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนเรียนรู้และเข้าใจได้เร็ว บางคนต้องใช้เวลาเพื่อให้ตนเองเกิดความศรัทธายิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมุสลิมใหม่ส่วนใหญ่ที่ได้ผ่านการศึกษาเรียนรู้หลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลามมาจากผู้นำศาสนาในชุมชนแล้วนั้น สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ และดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาอิสลามโดยยึดถือคัมภีร์อัลกุรอานและแบบอย่างจากท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นวิถีปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ต่วน สุวรรณศาสน์ .(2547). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและความหมายภาษาไทยฉบับพระราชทาน. ฉบับพิมพ์ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อพระราชทานสถาบันต่าง ๆ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับ. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพ

มูฮัมหมาดอาหลี มาลินี. (2557). มุสลิมใหม่(มุอัลลัฟ)กับการปรับตัวหลังการเปลี่ยนศาสนา กรณีศึกษาจีน มุอัลลัฟในมาเลเซีย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มนูญ โต๊ะอาจ .(2555). การเรียนรู้และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมของมุอัลลัฟในเขตชุมชน เมืองและชุมชนชนบทของไทย.ดุษฎีนิพนธ์นิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

อัมพร หมาดเด็น. (2550). พื้นที่ทางสังคมระหว่างคนมุสลิมและคนต่างศาสนาในภาคใต้. การสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

บรรจง บินกาซัน. (2553). โครงการอบรมผู้สนใจอิสลามมูลนิธิสันติชน. (Online) www..islammore.com

อับดุลเลาะหนุ่มสุข. (2556). บทบาทของมัสยิดในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. (Online) www.islammore.com

---------------------. (2558). มุอัลลัฟในสังคมมุสลิมไทย. (Online) www.islammore.com/view

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์. คณะนิเทศสาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภัตติมา รองเดช. (2005). บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในการดะอฺวะฮฺอิสลาม. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต,สาขาอุศูลุดดีน, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

รอซีดะฮฺ บือราเฮง. (2551). แนวทางของสลัฟในการเผยแพร่อิสลาม ของแต่ละบุคคล. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต, สาขาอุศูลุดดีน, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ยามีละห์ เทษา. (2551). การเผยแพร่อิสลามของท่านนบีมูฮัมหมัดแบบลับๆและเปิดเผยก่อนการอพยพ. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต, สาขาอุศูลุดดีน , มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

Attobriy. (1994). TafsirAttobriy. Bairut : Muassasah al-Risalah

Manna‘ al-Qattan. (1988). al-Da‘wah al-Islamiyah. Beirut : Dar al-Fikr

al-Qaradawiy Yusuf. (1994). Fiqh al-Zakat. Beirut : Dar Ihya’ al-Kutub al-Arabiyah

al-‘Asqalaniy. (1986). Fathul Bariy Sharah Sah Al-Bukhariy. al-Qahirah : Dar al-Rayyan

al-Athariy, ʻAbdullah bin ʻAbdul-Hamid. (2002). al-Wajiz fi ‘Aqidah al Salaf al-Shalih . Beirut : Dar Ibn Kathir