การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

กรกัญญา ราชพลสิทธิ์
มีชัย เอี่ยมจินดา
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยเพื่อส่งเสริม  การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถ การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทย  2.3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทย 2.4) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยที่ลงทะเบียนในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ จำนวน 45 คน นักศึกษาวิชาชีพครูที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 6 คน ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทย จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 4) แบบประเมินพัฒนาการความสามารถ  5) แบบประเมินความคิดเห็น และ 6) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีชื่อรูปแบบว่า PINGS Model เป็นรูปแบบที่มีหลักการวัตถุประสงค์ เงื่อนไขการใช้นำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม (Picturing prior knowledge) ขั้นที่ 2 เพิ่มเติมแหล่งเรียนรู้ (Increasing knowledge resources) ขั้นที่ 3 ร่วมต่อยอดความคิด (Newly igniting imaginations) ขั้นที่ 4 ผลิตความรู้ใหม่ (Generating new knowledge) ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผลงาน (Scrutinizing the assignments) และผ่านการรับรองรูปแบบ

  2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า 2.1) ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังใช้รูปแบบนักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ 2.2) นักศึกษาวิชาชีพครูมีพัฒนาการความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสูงขึ้น 2.3) ครูพี่เลี้ยงมีความคิดเห็นต่อความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.4) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเอส.

ชุติกาญจน์ สกุลเดช. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เชาวนี นาโควงศ์. (2551). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่ง แก้วแดง. (2547). ปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ศิลปะชัย กงตาล. (2549). การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเตรียมครูฝึกสอนดนตรีใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา อุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม = Classical test theory (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี กาญจนชาตรี. (2543). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิสต์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาคหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 20 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

Ennis, R. H. (1985). A Concept of Critical Thinking : A Proposed for Research in Teaching and Education. New York : Rand Macnally and Company.

Gredler, Margaret E. (1997). Learning and instruction theory into practice 3rd ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.

Joyce, B. & Weil, M. (2002). Models of teaching. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Parke, Ross D. and Mary Guavain. (2009). Child Psychology : A contemporary Viewpoint 7thed. Boston: McGraw – Hill.