การพัฒนารูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษารูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้เว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ขั้นกระบวนการ และ ขั้นผลผลิต 2)เว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ ได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.17 3)คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นอกจากนี้ ผู้สอนได้ประเมินการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 และผู้เรียนได้ประเมินตนเองอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 และ 4)ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.55
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2543. เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญการบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2557. (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ ๓) ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2554. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย ICT 2020.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. 2556. การศึกษาความสัมพันธ์ของความผูกพันของผู้เรียน การยอมรับเทคโนโลยีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เว็บเป็นฐานการสอน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 4(2): 105-114
กิดานันท์ มลิทอง. 2548. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.จิตรพงษ์ เจริญจิตร และ นิธิ ทะนนท์. 2559. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันในระบบงานตรวจสุขภาพ (ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, (758-769)
ชลธิชา มะโณสิน. 2555. การพัฒนาการสอนบนเว็บ เรื่องธรณีกาล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2556 “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5(1) มกราคม-มิถุนายน 2556.
ณัฎฐ์สิตา ศิริรัตน์. 2548. แนวทางการสร้างและพัฒนาบทเรียน E-Learning. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ธนกร ขันทเขตต์. 2558. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. 2544. ผลของการเชื่อมโยงและรูปแบบเว็บเพจในการเรียนการสอนด้วยเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาที่มีกระบวนการเรียนรู้ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. 2545. หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (Online). http//onec.go.th/onec_backoffice/uploaded/Category/Laws/Act/acteng/01/0101-a.pdf, 10 พฤษภาคม 2559.
มนต์ชัย เทียนทอง. 2547. “M-Learning: แนวทางใหม่ของ e-learning (m-Learning: A new paradigm of e-learning).” วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1 (1): 3-11.
วรัท พฤกษากุลนันท์. 2550. การเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-based Instruction). (Online). http://www.kroobannok.com/article-133-การเรียนการสอนผ่านเว็บ- (Web-Based-Instruction)-.html, 15 มีนาคม 2559.
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
วุฒิพงษ์ ชินศรี และ ศิริวรรณ วาสุกรี. 2558. “การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย.” วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 10(1): 1-17.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สนิท สิทธิ. 2557. รูปแบบการสอนผ่านเว็บตามทฤษฎีการเรียนรู้คอนเน็คติวิซึมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสาวเพ็ญ บุญประสพ. 2553. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิตที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัจจิมา บำรุงนา. 2557. การพัฒนาการสอนผผ่านเว็บด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
Barkley, E.F., C.K. Partricia and M.C. Howell. 2004. Collaborative Learning Techniques: a Handbook for College Faculty. USA: Wiley Imprint,
Elizabeth F. B., C.H. Major and K.P.Cross. 2014. Collaborative learning techniques: a handbook for college faculty 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass & Pfeiffer Imprints, Wiley.
Johnson, R.T. and D.W. Johnson. 1986. “Action research: Cooperative learning in the science classroom.” Science and Children. 24: 31-32.