การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

ธีระชัย รัตนรังษี

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  2) พัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูภาษาไทยจำนวน 11 คน และนักเรียนจำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูภาษาไทยและนักเรียน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ แบบประเมินทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1.ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความสามารถการจัดการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูควรเกิดจากความสมัครใจของครู ครูจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการกับชีวิตจริง 2.รูปแบบ PLC มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน Share Vision : S การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม Team Learning : T  การจัดการเรียนรู้สู่นักเรียน Instruction : I  การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน Peer Coaching : P การถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ After Action Review : A 3. ประสิทธิผลของรูปแบบ 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังแตกต่างกัน มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ก่อนและหลังแตกต่างกัน มีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในระดับดีเยี่ยมและมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กาญจน์วริษฐา ชูกำลัง. (2558). แนวทางการพัฒนาครูด้านวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 2.รายงานสืบเนื่องการ ประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่าย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 15. หน้า 73-81.

เกรียงศักดิ์ พลอยแสง. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษากับการ สื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

จิราพร รอดพ่วง. (2560). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู.Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(1), 281-296.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(1), 34-41.

บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 17(1), 115-122.

นวรัตน์ ไวชมพู และสุจิตรา จรจิตร. (2560). การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของอาจารย์พยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4(1), 265-279

นันทกา วิรนัน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2), 1-13.

ผกาวรรณ ศิริสานต์. (2552). ศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของครู ประถมศึกษาโรงเรียนไผทอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.

ลัดดา หวังภาษิต. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). Journal of Education. 26(2), 20-32.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ (แปล). (2556). ทักษะแห่งอนาคต : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิซซิ่ง เฮาส์ จำกัด.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกนรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1), 93-102.

วิชัย วงศ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning). The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 2(1), 18-20.

สุภาวดี ปกครอง. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์. 32(101), 51-67.

อรชร วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในการส่งเสริมความสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบท การศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(1), 163-175.

Creswell, J. W., & Clark, V. L. P. (2007). Designing and conducting mixed methods research. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication.

Hord, S. (2009).Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin, TX : Southwest Educational Development Laboratory. Retrieved November 24, 2015. From http://www.sedl.org/pubs/change34/2.html.