ภูเก็ตเมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา

Main Article Content

ปาริชาต จิรวิศิษฐาภรณ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการศึกษาของจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยที่สนับสนุนต่อการบริหารจัดการของจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษาผลการวิจัย พบว่า 1) ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพความพร้อมในหลายด้าน ทั้งในด้านของความเป็นเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้านที่ประชาชนให้ความสำคัญของการศึกษา รวมถึงการเป็นสังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบทมีการกระจายตัวของสถานศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่  ประกอบกับการเป็นจังหวัดที่มีสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม  มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการศึกษา รวมถึงความพร้อมของทรัพยากรและความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภายในจังหวัด 2) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการของจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา ได้แก่ เทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ จำนวนบุคลากรครูและผู้บริหารการศึกษา คุณภาพของเยาวชนที่ออกมา    สู่ตลาดแรงงาน และประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับท้องถิ่น ส่วนปัจจัยที่สนับสนุนต่อการบริหารจัดการภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา ได้แก่ สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการศึกษา 3) แนวทางในการบริหารจัดการจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา ต้องมีการจัดการศึกษาภายใต้หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของจังหวัด ซึ่งเรียกว่า "หลักสูตรบ้านชิโน (BAAN SINO)"  ซึ่งเป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักการ ปรัชญา แนวคิดแบบมอนเตสซอรี่ แนวคิดพุทธธรรมประยุกต์ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสต์ และแนวคิดแบบวอลดอร์ฟมารวมกัน เป็นการจัด "หลักสูตรทักษะชีวิต ทักษะภาษา ทักษะอาชีพ และคุณธรรมจริยธรรม" โดยคำกนึงถึงความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ทั้งด้านความคิด ความสามารถ ความพร้อม ความถนัด และความสนใจ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาภูเก็ตต่อไป  การบริหารจัดการหลักสูตรให้เกิดประสิทธิผล มีหลักการ คือ 1) การกำหนดนโยบายและแผน (Policy and Planning) โดยการจัดทำนโยบายและกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษาที่เป็นรูปธรรม สร้างศักยภาพบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยการมุ่งเน้น ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดภูเก็ตสู่ระดับสากลได้มากขึ้น 2) การจัดองค์การ (Organizing) มุ่งเน้นให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาให้เหมาะสมเพื่อมุ่งให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และหลักการมอบอำนาจจัดการศึกษา ให้ท้องถิ่นและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีอิสระในการจัดการศึกษาได้เอง และ 3) การสร้างเครือข่าย (Networking) โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายภาคธุรกิจ เช่น สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และเครือข่ายองค์กรธุรกิจเอกชนอื่นๆ ที่ภาครัฐส่งเสริม เช่น สมาคมผู้ส่งออก สมาคมผู้ประกอบการค้า เป็นต้น เข้ามาร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภูเก็ตสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านการศึกษา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boston, J. et al. (1996). Public Management : The New Zealand Model. New York : Oxford University Press.

Creative Industries Finland. (2010). The children must play. [Online] Available : http://www. neoedu.co.th/ blog/cat/education/post/thechildren-must-play [2016, November 21].

Chaowalit, S. (2012). New public management.(5th Ed.).Bangkok : Sematham Publishing House. [in Thai]

Chakphisut, S. (2005). Alternative education, home school and knowledge outside of the school in Thailand. Bangkok : Department of Health. [in Thai]

Department for Culture, Media and Sport (DCMS). (2008).Creative Industries. [Online]. Available: http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/QM153_P107-111.pdf [2016, November 21].

Florida, R. (2002).The Rise of the Creative Class (and How It's 'Iransforming Work, Leisure, Community and Everyday Life). New York : Basic Books.

Laisamit, P. (2013).Proactive strategy to penetrate Qatar.Retrieved from http://www. thaiembass.org/ doha/en/relation. [in Thai]

Landry, Charles. (2000).The creative city—a toolkit for urban innovators. London : Earthscan Publications.


Matcharat, T. (2007). Learning Management base on the philosophy of sufficiency economy Model. Bangkok : Tharnaksorn Press Co.Ltd. [in Thai]

Papattha, C. and Jeerungsuwan, N. (2013). Virtual Learning Environment in Creative Education. Bangkok : Rajamangala University of Technology Phra Nakorn. [in Thai]

Papattha, C. and Ninsuk, P. (2003). CIO: Chief Information Officer for Creative Economic Education. BEC Journal of Naresuan University. 8 : 51-66. [in Thai]

Phosita, C. (2009). Science and art for qualitative research (4th Ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Co., Ltd. [in Thai]

Phuket Provincial Education Office. (2016). Phuket Education Development Plan. Phuket : Phuket Provincial Education Office. [in Thai]

Tansakul, K. (2013). Phuket Management towards Creative City. (Doctoral dissertation). Phuket : Phuket Rajabhat University. [in Thai]