ข้อเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ฝั่งอันดามัน

Main Article Content

วาสนา ศรีนวลใย
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
จันทร์ชลี มาพุทธ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ การเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ และการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย  ฝั่งอันดามัน และศึกษาข้อเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ อูรักลาโว้ย ฝั่งอันดามัน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มเอกชน และกลุ่มองค์กรอิสระ   เป็นการวิจัยลักษณะพหุกรณีศึกษาหลายพื้นที่ ใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพการเปลี่ยนแปลงผลกระทบ ได้แก่ ด้านสังคม ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของครอบครัวและชุมชน การมีส่วนร่วมและความสามัคคีมีน้อยลง การเปลี่ยนผู้นำชุมชนตามธรรมชาติสู่ผู้นำที่เป็นทางการ ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การประกอบอาชีพเพื่อยังชีพสู่การค้าขาย การประกอบอาชีพดั้งเดิมสู่การประกอบอาชีพใหม่ ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย ประเพณี การแสดง ภาษา การแต่งกาย อาหาร ศาสนา เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ภูมิปัญญา ซึ่งมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบสังคมเมืองและวัฒนธรรมบางอย่างสูญหายไป ด้านการเมือง ประกอบด้วย นโยบาย กฎหมาย ซึ่งมีการกำหนด จำกัด และไม่ยึดหยุ่น ส่งผลให้ไม่สามารถใช้วิถีชีวิตได้ตามปกติดังที่ผ่านมา และด้านสุขอนามัยระดับบุคคลและชุมชน มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแต่ขาดการจัดการที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาความแออัด ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับการพัฒนา ได้แก่ ด้านสังคม ต้องสร้างความตระหนักทางการศึกษา การให้ทุนการศึกษา การขยายการศึกษาในพื้นที่ และการจัดการศึกษา ที่เหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การประกอบอาชีพประมงสู่อาชีพการท่องเที่ยว การเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อการประกอบอาชีพทางการท่องเที่ยว ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย การสร้างแกนนำเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอด การจัดท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชน การจัดทำเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ด้านการเมือง ประกอบด้วย การประกาศ กฎ ระเบียบ และนโยบายของรัฐ-เอกชน ควรมีความยึดหยุ่น และด้านสุขอนามัย ควรการช่วยกันจัดการสุขอนามัยของชุมชนให้ดีขึ้น ข้อเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย  ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1.ด้านสังคม ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักทางการศึกษา 2) การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ 3) การจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีพ และ 4) การทำงานแบบบูรณาการ 5) การสร้างทัศนคติและความเชื่อที่เหมาะสม 2.ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ 2) การเสริมความรู้ด้านอาชีพที่เหมาะสม 3. ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ 1) การจัดทำพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ 2) การจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชน 3) จัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมชุมชน 4.ด้านการเมือง ได้แก่ การจัดทำนโยบาย กฎหมาย ข้อกำหนด ที่เอื้อต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ การทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นระบบและต่อเนื่อง การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ร่วมคิด ร่วมทำร่วมวางแผน ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข) และ 5.ด้านสุขอนามัย ได้แก่ การพัฒนาบุคคลและชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ควรจัดพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ 2) ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ 3) ควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต 4) ควรจัดการศึกษาเฉพาะสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ และ 5) ควรมีนโยบาย กฎหมาย ข้อกำหนดที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ 1) การจัดโครงการสอดคล้องกับบริบทชุมชน 2) ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และการเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ศิริวงศ์. (2543). การปรับตัวด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเนื่องจากการอพยพ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554) . การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิตชยางค์ ยมาภัย. (2549). ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อการพัฒนาชาวไทยภูเขาตามแนวทฤษฏีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์. ปริญญาดุษฏีนิพนธ์สาขาวิชาพัฒนาศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2558). ชาติพันธุ์ใต้อำนาจ : เสียงแห่งชาติพันธุ์ในโลกเสรีนิยมใหม่, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ดาฤนัย จรูญทอง. (2550) . ประวัติศาสตร์ชุมชนอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ระหว่างปี พ.ศ. 2493-2549 , อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤมล อรุโณทัย. (2549). ประชาสังคมและชุมชนเข้มแข็ง ในบริบทของกลุ่มชายขอบ : กรณีศึกษากลุ่มชาวเลในประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประเวศ วะสี. ( 2546 ). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ปิยนุช แก้วหนู . (2551), ชาวประมงไซดักปลาและนักท่องเที่ยวดำน้ำ :กรณีศึกษาความขัดแย้งอันเกิดจากความไม่เข้าใจในวิถีชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ย บ้านหาดราไวย์ ภูเก็ต : ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพิไล ตั้งเมธากุล . (2529) . การผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรม ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนชาวเล เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฏา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต : การศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556) . แนวคิด ทฤษฏี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม, กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ จำกัด.

พิไลวรรณ ประพฤติ . (2557) . ศึกษาความยั่งยืนของการดำรงชีพบนเกาะขนาดเล็กของชาวอูรักลาโว้ย : กรณีศึกษาเกาะหลีเป๊ะ ประเทศไทย : การศึกษาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชรินทร์ ลาภานันท์ และคณะ. (2542). ศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชาวไทยชนบทที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ : กรณีศึกษาเขื่อนปากมูล,สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.).

เมธิรา ไกรนที. ( 2552 ). พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม : ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งโรจน์ ลี้สกุลรักษ์. (2551). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนสวนดอก , ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริรัตน์ กตัญชลีกุล.( 2552 ) . บทความแปลงานวิจัยสถานการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในคาบสมุทรมลายู :โครงการปัญญาชนสาธารณะ (เอพีไอ หรือ Asian Public Intellectuals) มูลนิธินิปปอน.

สุทัศน์ ละงู .(2551). วิถีชีวิตและศักยภาพที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โฮมสเตย์ : กรณีศึกษาชุมชนชาวเลบ้านสังกาอู้ อาเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่: วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สุริชัย หวันแก้ว. ( 2550 ). คนชายขอบจากความคิดสู่ความจริง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทแอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2546) .ทฤษฏีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสิทธิ์ พึ่งพร. (2553). การพัฒนากระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูง.ปริญญาดุษฏีนิพนธ์สาขาวิชาพัฒนาศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อะระโท โอชิมา. (2536) . ชีวิต พิธีกรรม และเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทยกรณีศึกษาในเขตอำเภอบ้านเมืองโป่ง จังหวัดราชบุรี: วิทยานิพนธ์สังคมวิทยา มานุษยวิทยามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาภรณ์ อุกฤษณ์. ( 2532 ). พิธีลอยเรือ : ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของชาวเล กรณีศึกษาชุมชนบ้านหัวแหลม เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ : วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรา พงศาพิชญ์. ( 2547 ). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย ปัญญาโกญ. (2547) . การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า.ปริญญาครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amy E. (2006).An exploration of the cultural adaptation processes of immigrants and local residents in a rural community. A dissertation the faculty of the graduate college at the university of Nebraska in partial fulfillment of the requirements for the degree of doctor of philosophy, Lincoln Nebraska.