รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 81

Main Article Content

นัทธมณ พันธ์แก้ว
จิตติ กิตติเลิศไพศาล
ปูริดา วิปัชชา
วัชรพงษ์ อินทรวงศ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรในโมเดลที่มีต่อการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HAตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8 ที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA จำนวน 334 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 118.85, df = 89, P-Value = .019, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, RMR= 0.009, RMSEA = 0.036) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8 ได้ร้อยละ 43 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA มี 3 ปัจจัย คือ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .34, -0.25 และ 0.15 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.25 และ -0.12 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธรณสุข.(2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมถ์.

กฤศนรัตน์ พุทธเสน. (2558). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เขตสุขภาพที่ 8. (2557). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ปี 2557. เขตสุขภาพที่ 8.

เชวงศักดิ์ พฤษเทเวศ.(2550).การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2546). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นฤมล สุภาทอง. (2550). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บูลยาวี ขานมา. (2555). โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงระบบของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงษ์เทพ สันติกุล. (2550). บทบาทและอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษาและสาธารณสุขของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพโรจน์ ภัทรานรากุล และทัศนัย ขันตยาภรณ์. (2552). การปฏิรูปบทบาทภารกิจเพื่อการจัดการสาธารณสุข.(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัทราพร เกษสังข์. (2556). สถิติและการวิจัยขั้นสูง. เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ (2552). อิทธิพลของวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อผลการ ปฏิบัติงานบุคลากรสายผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2556). คู่มือการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐานHA สำหรับสถานพยาบาล. นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). การศึกษาวิจัยหน่วยงานท่องเที่ยวของรัฐ. จุลสาร การท่องเที่ยว.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, และคณะ. (2555). ระบบประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สุนทร สุริยพงศกร. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการบริหารโรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การ : กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Boal, K. B., & Hooijberg, R. (2000). Strategic leadership research : Moving on. The Leadership Quarterly, 11(4) : 515-549.

Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (1999).Diagnosing and changing organizational culture :Based on the competing values framework. Massachusetts : Addison-Wesley.

Denison, D.R., & Spreitzer, G.M. (1991).Organizational culture and organizational development : Acompeting values approach.Research in Organizational Culture Change and Development, 5 : 1-21.

Dückers, M. L., et al. (2009). Consensus on the leadership of hospital CEOs and its impact on the participation of physicians in improvement projects. [On-line]. fromhttp://ac. els-cdn. com/S0168851009000207 [2015, June 22].

Guest, D., et al., (2003). Human resource management and performance. British Journal ofIndustrial Relations, 41(2) : 291–314.

Kim, S., & Lee, H. (2004). Organizational factors affecting knowledge sharing capabilities.New York : Agnation.

Lussier, R. N., & Achua, C. F. (2004). Leadership : Theory, application, skill building. 2nd ed. Cincinnati Ohio : South-Western College.

Schein, E. H. (1992). Organizational culture and leadership. 2nd ed. California : Jossey-Bass.

_______. (1999). The corporate culture survival guide. San Francisco : Jossey-Bass.

Wardhani, V., et al. (2009).Determinant of quality management systems implementation in hospitals. [On-line]. From http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168851008001565 [2015, June 22].