การสร้างเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความร่วมมือการพัฒนาสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง 2) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง 3) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และภาคีเครือข่ายของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุทั้งสองแห่งที่มีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน คือ ในรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนประจำปีการศึกษาในระบบและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การดำเนินกิจกรรมในด้านการดูแลผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุของทั้งสองแห่ง พบว่า ผู้สูงอายุ มีความรู้สึกสนุกสนาน พึงพอใจและต้องการให้สร้างกิจกรรมเพื่อลดปัญหาความซึมเศร้า ความเครียด ความรู้สึกโดดเดี่ยวที่ไม่มีใครให้ความสำคัญที่มีความแตกต่างจากการที่เคยมีงานทำมีสังคมที่เคยได้ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น การจัดกิจกรรมสำหรับการดูแลจึงสามารถช่วยให้เกิดความสุข โดยเฉพาะในด้านสุขภาวะทางอารมณ์ที่ผู้สูงอายุสามารถเอื้อให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้
การสร้างความเข้าใจตลอดจนถึงความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายของโรงเรียนผู้สูงอายุได้รับการตอบรับภายในทั้งในด้านการทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานร่วมกันของโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้รับผลเป็นอย่างดีทั้งในรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เป็นด้านการส่งเสริมทางการศึกษาหรือในด้านการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในการการส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุต้องการให้มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงการตระหนักรู้ และเข้าใจ ในด้านพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธี การปฏิบัติตนในแนวพุทธที่เห็นถึงถึงความสำคัญ ในด้านการดำเนินชีวิตในวิถีพุทธที่เป็นวิถีของการปฏิบัติที่ได้ทำสืบเนื่องกันมากเป็นเวลานานและเป็นการสะท้อนการแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม การจัดกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในด้าน การจัดการแสดง ฟ้อนรำในพิธีต่างๆ ผู้สูงอายุตะหนักถึงความงดงามที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางพุทธศาสนาที่เป็นแบบหล่อหลอมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ ผู้สูงอายุรู้สึกและพึงพอใจในกิจกรรมที่เป็นประเพณีและวัฒนธรรมเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลถึงการจัดแผนการดำเนินงานสำหรับผู้สูงอายุควรตระหนักและให้คุณค่าในด้านประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและการสร้างความสัมพันธ์อันดีและระหว่างวัยได้เป็นอย่างดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Ganjana, K. (1995). Tools of Communities culture. Bangkok: Catholic Education Council of Thailand.
Gemsak, P. (1992). Mobilization of people for rural development. Bangkok: Faculty of economics Thammasat University.
Gemsak, P. (1984). Rural Development Management. Bangkok: Odien Store.
Chamana, K. (2011). Implementation of The National Senior Plan No.2 (2002 - 2021) Revision No.1 B.E. 2552 (2009) : Case Study of Wiang Sa District, Nan Province. Master of Arts Thesis in Administration, Social Development, National Institute of Development
Administration.
Siranee, S and Gomart, G. (n.d.). The impact and burden of long-term care for the elderly under Thai culture. Bangkok: Foundation, Thai Geriatric Research and Development Institute.
Sakkul, S. (2014). Report on the synthesis of operational situation information for the elderly. Bangkok: Health Promotion Fund Office. Lampang Provincial Public Health Office (M.P.). http://mlph.tht.in/