แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านกองพลทหารราบที่ 15
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการที่ดีนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านกองพลทหารราบที่ 15 2) วิเคราะห์สภาพการณ์ทางธุรกิจ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ และ4) ศึกษาแนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์ประธาน เลขานุการ และสมาชิก 2 คนของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านกองพลทหารราบที่ 15 ประธานชมรมแม่บ้านทหารบก สาขากองพลทหารราบที่ 15 และนายทหารหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน รวมผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 6 คน ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนนี้บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการ ดำเนินการผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีน้ำมันดังกล่าวเป็นส่วนประกอบจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวทหาร ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานและเป็นจุดแข็ง คือ การใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ปัจจัยซึ่งเป็นจุดอ่อน ได้แก่ การรวมกลุ่มสมาชิก การโยกย้ายของสมาชิกระดับผู้นำ ความสามารถทางธุรกิจของสมาชิก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยซึ่งเป็นโอกาส คือ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรค คือ การแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ ได้แก่ การถ่ายโอนธุรกิจให้ชมรมแม่บ้านทหารบก สาขาหน่วยข่าวกรองทางทหารที่ 15 โดยผลิตผลิตภัณฑ์เดิมและพัฒนาให้ได้เลขที่ใบรับแจ้ง ปรับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แยกจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนของชมรมแม่บ้านแต่ละหน่วยขึ้นตรง ส่งเสริมการจัดการความรู้ พัฒนาความรู้ความสามารถทางธุรกิจให้แก่สมาชิก และส่งเสริมการขึ้นทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOPรายใหม่ ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2554). อย. ออกกฎ บังคับเพิ่ม “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนฉลากเครื่องสำอาง ดีเดย์ 14 กันยายนนี้. [On-line]. Available: http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/showhotnew.phpidHotnew=38089 [2559, ธันวาคม 25]
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การจัดการความรู้ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5 (พิเศษ) : 134-144.
คณิดา ไกรสันติ และรัสมนต์ คำศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุขาวดี ตำบลปริกอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559. หน้า 554-566. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชมรมแม่บ้านทหารบก สาขากองพลทหารราบที่ 15. (2557). รายงานสรุปการดำเนินงานชมรมแม่บ้านทหารบกสาขากองพลทหารราบที่ 15. ปัตตานี : ชมรมแม่บ้านทหารบก สาขากองพลทหารราบที่ 15.
ชุติมันต์ สะสอง. (2559). ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
โชติกา ปงแปง พรชนก ทองลาด และบุณฑวรรณ วิงวอน. (2557). กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7(1) : 106-116.
ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล, รัสมนต์ คำศรี, พาฝัน รัตนะ และ ไอริณ สกุลศักดิ์. (2559). การศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559. หน้า 1326-1336. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2554). สื่อโฆษณาออนไลน์ จากอดีตสู่อนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(2) : 167-172.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา : สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนวุฒิ พิมพ์กิ. (2556). การเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธนวุฒิ พิมพ์กิ. (2558). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธีรุตม์ หมื่นเทพ และนวพร เกษมสุวรรณ. (2557). แนวทางการพัฒนากลุ่มน้ำพริกบ้านดอนสนามแบบมีส่วนร่วมตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 วันที่11-13 มิถุนายน 2557. หน้า10-18. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นันทสารี สุขโต. (2557). การตลาดระดับโลก (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บันดิษฐ์ มุณีแนม. (2556). ความสำเร็จในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 6(2) : 12-24.
ปรียาพร ผลเอนก. (2557). การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548, (2548, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนที่ 6 ก., หน้า 1-13.
เพลินทิพย์ โกเมศโสภา. (2555). การวางแผนการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2553). การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต และ วัลภา ว่องวิวิธกุล. (2556). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. 158-170.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา จารุพงศ์โสภณ. (2557). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง.
วนิตา บุญโฉม สายตา บุญโฉม ภัชรินทร์ ซาตัน ยุพาภรณ์ ชัยเสนา และณัฐนันท์ หลักคำ. (2558). การศึกษาสภาพการดำเนินธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ กรณีศึกษาบ้านดงเมืองและบ้านโนนเสียว. วารสารสังคมศาสตร์. 4(2) : 55-60.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
สมาคมแม่บ้านทหารบก. (2559). โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอาชีพเสริม/ปลดหนี้สิน,ลดรายจ่าย,เพิ่มรายได้. [On-line]. Available : http://www.thai armywives.org/web/project_03.php [2559, ธันวาคม 25]
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2558). หลักการตลาด…สมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพ จันทร์ทิพย์. (10 กันยายน 2557). ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านกองพลทหารราบที่ 15. สัมภาษณ์.
สืบชาติ อันทะไชย. (2556). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2557). ประเทศไทยเดินหน้าด้วยวิสาหกิจชุมชน. [On-line]. Available : http://www.phongphit.com/2013/index.php/2012-12-06-11-48-33/item/562-2014-06-19-01-55-33 [2559, ธันวาคม 25]
สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง. (2555). ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 7). [On-line]. Available : http://www.mol.go.th/ employee/interesting_information/4131 [2560, มีนาคม 25]
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). [On-line]. Available : http:// www.tisi go.th/ cps_ history. php [2559, ธันวาคม 25]
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อภิสิทธิ์ พรมชัย และ ศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ. (2554). ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกาน. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 4(2) : 16-29.
อาชวิน ใจแก้ว และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2558). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการส่งเสริมศักยภาพการผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 5: การพัฒนางานวิจัยรากฐานสำคัญของไทย ก้าวไกลสู่เวทีสากล วันที่ 17-18 ธันวาคม 2558. หน้า 1-10. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อารีวรรณ์ บังเกิด. (2556). การประกอบธุรกิจชุมชน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.