แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่

Main Article Content

ชัยณรงค์ ใจเกลี้ยง
อนุศักดิ์ ห้องเสงี่ยม

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจและระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่ และเปรียบเทียบแรงจูงใจและความพึงพอใจของข้าราชการครู  ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่ จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเท่ากับ 0.89 และค่าความเชื่อมั่นด้านความพึงพอใจ    ในการปฏิบัติงาน 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่ ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ล้วนอยู่ในระดับมากทั้งสิ้น เรียงลำดับจากด้านความรับผิดชอบอยู่ในลำดับสูงสุด ขณะที่ด้านนโยบายและการบริหารอยู่ในลำดับต่ำสุด

  2. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่ ทั้งในภาพรวมและรายด้านล้วนอยู่ในระดับมากทั้งสิ้น โดยความพึงพอใจสูงสุดสองลำดับแรกคือในลักษณะของงานที่ปฏิบัติและสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ขณะที่ความพึงพอใจในผู้บังคับบัญชามีลำดับต่ำสุด

  3. แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency-Based Approach). กรุงเทพมหานคร: บริษัท โกลบัล คอนเซิร์น จำกัด

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2554). “แนวทางปลูกและเก็บเกี่ยวทุนมนุษย์ในยุคหลังวิกฤตมหาอุทุกภัย”. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2559, แหล่งที่มา http://www. jobthai.com/file/pdf_drjira_201201.pdf

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2544). ภาวะผู้นําและการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เอสเค บุ๊คเนส.

เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศึกษาธิการ. กระทรวง. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทยกระแสใหม่และ สิ่งท้าทาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภลักษณ์ ตรีสุวรรณ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

สัมฤทธิ์ เทศสิงห์. (2547). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สายัณห์ ตากมัจฉา. (2546). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

เสริมศักดิ์ ประสารแสง. (2542). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ : ศึกษาเฉพาะกรณี กองอาคารสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุสรณ์ ทองสำราญ. (2541) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ : ศึกษากรณีสำนักงานใหญ่ธนาคารอาคารสงเคราะห์. กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York : John Wiley & Sons.