ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตอยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ส่วนระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ด้านคุณภาพงานวิชาการของสถานศึกษา ด้านบรรยากาศภายในสถานศึกษา ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน และด้านขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรในสถานศึกษา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต พบว่า ปัจจัยด้านขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน และด้านคุณภาพงานวิชาการของสถานศึกษา ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าสอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่ามีปัจจัยอย่างน้อยหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โดยสามารถทำนายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาได้ร้อยละ 74.50
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จันทร์ทิพย์ เจียมพงษ์. (2553). การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัชมังคลาภิเษก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน พ.ศ.2553.
เต็มดวง จำนง. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
บริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 10, สำนัก. (2555). รายงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอ เพียง” ประจำปีงบประมาณ 2555. ภูเก็ต : สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 10.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2555). วิกฤตเศรษฐกิจ 2550 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ปิยะพร พูลเพิ่ม. (2551). ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จในการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนฝายกวางวิทยา(โรงเรียนนำร่อง) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้น จำกัด.
วิโรจน์ เวียงจันทร์. (2549). ปัจจัยที่ทำให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ประสบผลสำเร็จเป็นโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2550). ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ปีงบประมาณ 2550. ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สัญญา จารุจินดา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการในการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอขุมยวง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สาโรจน์ เทียนใส. (2552). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ในโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. ภารกิจการผลิตเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อุมาพร สันตจิตร. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับปฐมวัน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.
Austin, G.E. & Reynolds, D. (1990). Managing for improved school effectiveness: An international survey. New York : School Organization.
Stedman, L.C. (1987). The Effective Schools Formula Still Needs Changing: A Reply to Brookover. Phi Delta Kappan, 69(6), 439 - 442.
Sammons, p., Hillman, J., Mortimore, P.(1995). Key Characteristics of Effective Schools : a Review of School Effectiveness Research.London: OFSTED.