ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยสืบเสาะหาความหมาย ลักษณะ เงื่อนไข กระบวนการเกิดขึ้น และผลที่ติดตามมาให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนในบริบทการศึกษาของไทยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูและผู้บริหารสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 21 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูเกิดขึ้นจากในชุมชนสถานที่ที่ตนประจำอยู่ในสังกัด โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย การวางแผน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการสร้างคลังข้อมูลร่วมกัน เน้นการทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่าย และแนวทางการปฏิบัติที่ดี ซึ่งมีลักษณะหลากหลายรูปแบบเริ่มต้นตั้งแต่ลักษณะของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงระดับชุมชนกลุ่มห้องเรียน ชุมชนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ชุมชนกลุ่มสถานศึกษา และชุมชนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา ทั้งนี้ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยมีเงื่อนไขและกระบวนการเกิดกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครู ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยนำเข้า แบ่งออกเป็นเงื่อนไขระดับองค์การ ประกอบด้วย 1)การนำองค์การ 2)การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3)ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4)ขนาดของสถานศึกษา 5)วัฒนธรรมองค์กร และ 6)เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เงื่อนไขระดับบุคคล ประกอบด้วย 1)ประสบการณ์ 2)ความรับผิดชอบ 3)ภาวะผู้นำร่วม 4)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 5)การทำงานเป็นทีม 6)การทำงานแบบร่วมมือ 2. กระบวนการ ประกอบด้วย 1)การวางแผน 2)การลงมือปฏิบัติ 3)การกำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน 4)การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน 5)การประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 6)การให้สิ่งจูงใจ ีและ 3.ผลที่ติดตามมา ประกอบด้วย 1)ระดับนักเรียน 2)ระดับครูและบุคลากรทางการศึกษา 3)ระดับสถานศึกษา และ 4)ระดับชุมชน ได้รับประโยชน์จากการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งนี้การสืบทอดให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1)นโยบาย 2)การกำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน และ 3)การให้สิ่งจูงใจ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
นวรัตน์ พูนใย. (2545). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันทนา ชูช่วย. (2533). การทำวิจัยในโรงเรียนของครูมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดและกรณีศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
สนั่น วงษ์ดี (2539). การพัฒนาโมเดลบูรณาการเชิงสาเหตุที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำวิจัย ของครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2547).นครแห่งการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2552).สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551).กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2558).สมรรถนการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ.2558 (IMD 2015).กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เสาวนิตย์ เจริญชัย และคณะ. (2555). การเรียนรู้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Creswell J. W. (2007). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. (2nded.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Creswell J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Design and conducting mixed methods research. (2nded.). California, CA: Sage.
DuFour, R.,Eaker, R., &DuFour, R. (2008). Revisiting professional learning communities at work: new insights for improving school.Bloomington,IN: National Education Service.
Little J. W. (1993). Teachers’ professional development in a climate of educational reform. [On-line]. Available:http://epa.sagepub.com/content/15/2/129.short[2016, November 10]
Hord, Shirley M. (2010). Guiding professional learning communities: inspiration, challenge, surprise, and meaning. Thousand Oaks: Corwin Press.