กลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในทศวรรษหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการชั้นเรียนของครูประถมศึกษาและพัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในทศวรรษหน้า โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ได้สภาพการจัดการชั้นเรียนปัจจุบันและกรอบประเด็นกลยุทธ์ จากนั้นได้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) ในการสร้างกลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในทศวรรษหน้า โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน วิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์และสร้างเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล 2 รอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูประถมศึกษาในทศวรรษหน้าที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) กลยุทธ์การจัดสิ่งแวดล้อมทางจิตภาพ เพื่อเสริมแรงนักเรียน 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำแก่ครู 4) กลยุทธ์การดำเนินการตามกระบวนการเพื่อการจัดการชั้นเรียนบรรลุเป้าหมาย 5) กลยุทธ์การตอบสนองนโยบายการจัดการชั้นเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
เขมิสรา สัตยบัณฑิต. (2553).การนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ครุสภา.(2549).ราชกิจจานุเบกษา (หน้า 289 เล่ม 123 ตอนที่ 56 ง).กรุงเทพ : ครุสภา.
ชัย สันกว๊าน.(2554).การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการชั้นเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยประเมินผลการศึกษา มหาวิทยลัยราชภัฏเชียงราย.
ณัฐธีรา สมบูรณ์. (2552). ผลการจัดการชั้นเรียนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อความมีวินัย ในตนเองของเด็กปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการ ปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ไทยรัฐออนไลน์. (2559).ไทยรัฐ. [online].เข้าถึงได้จากhttp://www.thairath.co.th/content/804481 [ 2559,ธันวาคม 14]
เบลลานซ และบาลด์ .(2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (แปลจาก 21st century skills Rethinging How students Learn โดยวรพจน์ วงศ์การรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์). กรุงเทพฯ : โอเพนเวิด์ส.
พิชัยศักดิ์ เจริญศรี. (2552). การพัฒนาระบบบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา.ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2557).การจัดการชั้นเรียน[online].เข้าถึงได้จาก : http://www.slideshare.net/pairop/ss-36780935 [ 2557,พฤศจิกายน 23]
มติชนออนไลน์. (2559).มติชน. [online].เข้าถึงได้จาก http://www.matichon.co.th/news/387114 [ 2559,ธันวาคม14]
เมธินี ศรีเพชร. (2552). การจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
รัชฎาพร พิมพิชัย. (2555) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
วัชรีวรรณ ไชยแสนทา. (2550). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูประจำชั้นระดับปฐมวัยศึกษา โรงเรียนวัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันเพ็ญ เหล่าฤทธิ์. (2555). ผลการจัดการชั้นเรียนแบบคละอายุที่มีต่อความมีน้ำ ใจของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านป่ายาง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วิชัย มานะพิม. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2551). การจัดการห้องเรียนกับการพัฒนาคณลักษณะเด็กปฐมวัยเพื่ อชีวิตที่สข อย่างพอเพียง. [Online]. Available : http:///sevnet.tnru.ac.th/article/ersearchtnru/teach/trl.tdf [2558, เมษายน 1]
ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551).การจัดชั้นเรียนครูมืออาชีพ. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดเลย.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2550). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพ ฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา
ในทศววรษที่สอง(พ.ศ.2552-2556). กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
Duke, D. L. (2001). “What can students tell educators about classroom dynamics?” Theory intoPractice, 16, 62-71.
Pellicer, L.O. & Anderson, L.W. (1995). A handbook for teacher leaders. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Strodl, P. (1992). A model of teacher leadership. Paper presented at the annual meeting of the Eastern educational Research Association: Hilton Head SC.