ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบ ของ สมศ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้ง 3 รอบ ของ สมศ. มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อศึกษาพัฒนาการและสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจาก การประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกถึงรอบสาม และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย 1) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบและมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของ สมศ. จำนวน 34,961 แห่ง 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา และ 3) ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ไคแสควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้
- สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับคุณภาพที่แตกต่างกันตามที่ตั้ง ขนาด ระดับชั้น สังกัด ภูมิภาค จังหวัดเขตพื้นที่การศึกษา จำนวนครูผู้สอน และจำนวนนักเรียน
- สถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่มีคุณภาพคงที่ และมีพัฒนาการของระดับคุณภาพที่แตกต่างกันตามที่ตั้ง ขนาด ระดับชั้น สังกัด ภูมิภาค จังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษา โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพหรือการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาโรงเรียนตามข้อเสนอแนะจากประเมิน 2) การวางแผนดำเนินงานของโรงเรียน 3) ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารและผู้บริหาร 4) ปัจจัยเกี่ยวกับครู 5) ความเข้มแข็งของศิษย์เก่า กรรมการสถานศึกษา หน่วยงาน / องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และชุมชน 6) ความพร้อมและความร่วมมือของผู้ปกครอง 7) สภาพแวดล้อมรอบโรงเรียน 8) ความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอน 9) การพัฒนาครู 10) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 11) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน
- ข้อเสนอแนะที่สำคัญ มีดังนี้
1) ข้อเสนอแนะในการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญคือ 1.1) หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ใน การประเมินควรร่วมกันกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และรูปแบบการจัดทำเอกสาร/หลักฐานให้สอดคล้องกัน 1.2) รูปแบบการประเมินควรเป็นการประเมินแบบกัลยาณมิตรที่ไม่เน้นรูปแบบทางการ ไม่เน้นเอกสาร เป็นการประเมินเชิงประจักษ์ตามสภาพจริง 1.3) ผู้ประเมินต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และแนวทางการประเมินอย่างถ่องแท้ และมีความเข้าใจพื้นที่/ท้องถิ่นของโรงเรียนที่จะประเมิน
2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่สำคัญคือ 2.1) การสร้างขวัญกำลัง 2.2) การควบคุมและประเมินคุณภาพครู 2.3) การพัฒนาครูบรรจุใหม่และครูประจำการ 2.4) การพัฒนานักเรียนตามความถนัด 2.5) การสร้างความรับผิดชอบร่วมในการพัฒนาการศึกษา และ 2.6) การศึกษาภาพอนาคตเพื่อกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการพัฒนานักเรียน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
จำรัส นองมาก. (2531). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของครูกับพฤติกรรมผู้นำของครูใหญ่. วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน. 1(3): 6-9
ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์ ธร สุนทรายุทธ และสมุทร ชำนาญ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย บูรพา. 7(1): 91-102.
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2536). คิดแบบอินเดีย. สยามโพสต์. (7): 27.
พระมหาสรพงษ์ การุณ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี วัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, สถาบัน. (2015). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นจาก http://www.ftpi.or.th/2015/2125.
มนทิพย์ ทรงกิตติพิศาล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เยาวลักษณ์ แสงสร้อย. (2542). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิเส้นระดับลดหลั่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2555). คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 20(58): 45-58.
สยาม สุ่มงาม. (2541). กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาลินี วงษ์เส็ง. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพัตรา ทรัพย์เสถียร. (2546). การพัฒนาโมเดลเชิงประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงพหุ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. (2538). วิธีการสอน Teaching methods. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อติพร ทองหล่อ. (2546). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังค์วรา วงษ์รักษา. (2549). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานจากการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูประบบการบริหารการศึกษา.
อํารุง จันทวานิช. (2542). การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่... โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ:สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงาเลขาธิการสภาการศึกษา.
Barber and Michael. (2009). The Challenge of Achieving World Class Performance: Education in the 21st Century. Minneapolis.
Morrow and Wilson. (1961). A review of children's reports of parent behaviors. Psychological Bulletin, 71(3): 222-236.