โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยคุณภาพนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สุภาพร จันทรคีรี
รัตนะ บัวสนธ์
ปกรณ์ ประจัญบาน
เอื้อมพร หลินเจริญ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของคุณภาพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับนักเรียน และระดับห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 45 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1,523 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการวางแผนการทำงาน แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา แบบวัดความถนัดทางการเรียน แบบวัดแรงจูงใจในการเรียน แบบสอบถามกระบวนการเรียนรู้ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมภายในบ้าน แบบสอบถามสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และแบบสอบถามคุณภาพการสอนของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model : MSEM)


                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผลการวิเคราะห์พบว่าโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ทั้งในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ χ2 = 529.274, df = 136, p = 0.000 ดัชนี CFI = 0.970, TLI = 0.950, RMSEA = 0.044, SRMRw = 0.033, SRMRb = 0.173 และ χ2/df = 3.89   

  2. ตัวแปรระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมภายในบ้าน โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.763 และ 0.243 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ สภาพแวดล้อมในห้องเรียน และภูมิหลังของครู โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.982 และ -0.405 ตามลำดับ ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนในคุณภาพนักเรียนได้ร้อยละ 78.90 และ 92.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล. (วันที่ 12 กันยายน 2557– 12 กันยายน 2558). ผลงานรัฐบาลครบรอบ 1 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจากhttp://www.moe.go.th/moe/upload/news_policyPRAYUT/FileUpload/43356-4624.pdf

ทรายทอง พวกสันเทียะ. (2542). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นวลพรรณ วรรณสุธี. (2553). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 : วิธีวิจัยเชิงผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประโยชน์ คุปต์กาญจนกุล. (2532). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยครู. วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลินี จุฑะรพ. (2547). สังคมวิทยการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

มิญช์มนัส วรรณมหินทร์. (2544). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มี อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2557). ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการประเมินผลการมีส่วนร่วมในการจัดการกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศรีนวล วรรณสุธี. 2536. รูปแบบขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับ ประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Alexander, C. (2004). Does Teacher Certification Matter? Teacher Certification and Middle School Mathematics Achievement in Texas[Online]. Available from: http://www.sedl.org/pubs/policyresearch/resources/AERA-2004.pdf[2017, May 4].

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill.

Carroll, John B. (1963). A model of school learning. Teacher College Record, 7(2), 585-595.

Greenberg et al. (2004). Teacher Quality Measures and Student Achievement in Mathematics [Online] .Available from: http://www.ascd.org/portal/site/ascd/template.MAXIMIZE/menuitem.1eb2de4 [2017, May 4].

Jackston, M.F. (1979). Discharge Planning : Issue and Challenges for Gerontological Nursing : A critiques of the literature. Journal of Advanced Nursing. 19(3) : 492-502.

Smith, Samuel. 1970. Best Methods of Study. London : Barnes & Nobel , Inc, book.