ทัศนคติของนักศึกษาครูต่อการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

Main Article Content

คณิตา ลิ่มหัน
ไพวรัญ รัตนพันธ์
อัญชลี ธะสุข

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคตินักศึกษาครูที่มีต่อการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับทัศนคติของนักศึกษาครูที่มีต่อการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทัศนคติของนักศึกษาครูต่อการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-square


                ผลการวิจัยพบว่า


1. โดยภาพรวม นักศึกษาครูชื่นชอบเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านภาพยนตร์มากที่สุด (ร้อยละ 23.40) รองลงมาคือ YouTube (ร้อยละ 21.28)และชอบเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด (ร้อยละ 2.13) เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษชื่นชอบการเรียนภาษาอังกฤษผ่านเพลงมากที่สุด (ร้อยละ 28.57) รองลงมาคือ ภาพยนตร์ (ร้อยละ 21.43) ส่วนนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษาชอบเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านภาพยนตร์มากที่สุด (ร้อยละ 24.24) รองลงมาคือ YouTube (ร้อยละ 21.21)


2. โดยภาพรวม นักศึกษาครูไม่ชื่นชอบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่าน วรรณกรรม/นวนิยาย มากที่สุด (ร้อยละ 21.74) รองลงมาคือ หนังสือเรียน (ร้อยละ 19.57) เมื่อจำแนกตามสาขาวิชา พบว่า นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ไม่ชื่นชอบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านวรรณกรรม/นวนิยาย มากที่สุด (ร้อยละ 38.46) รองลงมาคือ นิตยสาร (ร้อยละ 15.38) ส่วนนักศึกษาสาขาสังคมศึกษาไม่ชื่นชอบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่าน หนังสือเรียนมากที่สุด (ร้อยละ 27.27) รองลงมา คือ นิตยสาร วรรณกรรม เรื่องสั้น (ร้อยละ 15.15)


3. สาขาวิชามีผลต่อความไม่ชื่นชอบสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Chi-square = 58.17, p = .00)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.

สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). การพัฒนาตัวชี้วัดวัฒนธรรมการอ่านของคนไทย. Retrieved 20 ตุลาคม 2559 from http://www.thai health.or.th/Content/30210.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา.

Basallo Gómez, J. S. (2016). Adult EFL reading selection: Influence on literacy. Teachers' Professional Development : Bogotá, Colombia.18(1) : 167-181.

Crystal, David. (1997). English as a Global Language. Cambridge: Cambridge University Press.

Drnyei, Z. (1994). Motivation and motivating in the foreign language classroom. The Modern Language Journal. 78(3) :273-284.

Fang, C.-L., & Liu, W.-C. (2010). The Effect of Different Motivation Factors on Knowledge - Sharing Willingness and Behavior. Social Behavior and Personality : an international journal. 38(6) : 753-758.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitude and motivation. Ontario, London : Edward Arnold.

Grass, S. M. &Selinker, L. (2001).Second language acquisition: an introduction course. (3rdedition). England : Routledge.

Harmer, J. (2004).The practice of English language teaching. England: Pearson Education Limited. ELT Journal. 57(4) : 401 -405.

Hoyle, R.H. (2010) .Personal and Self-Regulation.Handbook of Personality and Self-Regulation. Chichester, UK: Wiley Blackwell.

Krashen, S.D. (1985). The input hypothesis. London: Longman.

Krashen, S. D. (1987). Principles and practice in second language acquisition. New York: Prentice-Hall International.

Kirkpatrick, A. (2007). World Englishes: Implications for International Communication and English Language Teaching. England: Cambridge University Press.

Kabooha,R.H. (2016). Using Movies in EFL Classrooms: A Study Conducted at the English Language Institute (ELI), King Abdul-Aziz University. Canadian Center of Science and Education. 9(3): 248-257.

Murata, K. & Jenkins, J. (2009).Introduction: global Englishes from global perspectives, global Englishesinasian contexts: current and future debates. UK : Palgrave macmillan.

Nunan, D. (2013). What is this thing called language? (2nd edition). UK : Palgrave macmillan.

Rao, Z. (2002). Chinese studentsperceptions of communicative and non-communicative activities in EFL classroom. (30) : 85 -105.

Somdee, M.&Suppasetseree, S. (2012). Developing English speaking skills of Thai undergraduate Students by digital storytelling through Websites. Available at www.fllt2013.org/private_folder/Proceeding/166.pdf Retrieved on 12-10-2016.

Szyszka, M. (2015). Multimedia in Learning English as a Foreign Language as Preferred by German, Spanish,and Polish Teenagers. Springer International Publishing Switzerland : 3-19.