อัตลักษณ์ครูดีในดวงใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อรูปและอัตลักษณ์ครูดีในดวงใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดหลัก 4 แนวคิด คือ แนวคิดอัตลักษณ์ แนวคิดทฤษฎีสัญญะวิทยา แนวคิดวาทกรรมตามแนวทางของนอร์แมน แฟร์คลาฟและแนวคิดเรื่องพื้นที่ โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ครูดีในดวงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีครูดีในดวงใจ เพื่อนร่วมงาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มละ 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสร้างวาทกรรมครูดีในดวงใจถูกสร้างขึ้นมาจากการตีความจากตัวบทซึ่งเป็นประเพณี อุดมคติ ค่านิยม กฏเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบันที่ถูกสร้างขึ้นจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ในมิติภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม ครูดีในดวงใจได้เลือกสรรวิถีทางในการปฏิบัติตนเพื่อแสดงและสร้างอัตลักษณ์ความเป็นครูดีในดวงใจ ในมิติภาคปฏิบัติการทางสังคม เป็นการถ่ายทอดอุดมการณ์ของสังคมผ่านโรงเรียน เพื่อให้ครูดีในดวงใจปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม อัตลักษณ์ของครูดีในดวงใจมีหลากหลายลักษณะ กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของครูดีในดวงใจถูกสร้างโดยการนิยามตัวเอง และถูกสร้างโดยผ่านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสถานศึกษา มีการทับซ้อนระหว่างอัตลักษณ์ อัตลักษณ์มิได้จำเป็นต้องมีหนึ่งเดียวแต่อาจมีหลากหลายอัตลักษณ์ประกอบรวมกันในบุคคลคนเดียว อัตลักษณ์ของครูดีในดวงใจ คือ การสร้างตัวตนผ่านการทำงานเกินเกณฑ์มาตรฐานการใช้ระเบียบวินัยเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงาน การใช้ระบบคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติราชการ และการเสียสละเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543).วาทกรรมการพัฒนา:อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญญะวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
นาสนีน อาแซ. (2555). การสร้างอัตลักษณ์ของเลขานุการแพทย์ในสถานพยาบาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2551). การค้าพื้นที่และอัตลักษณ์ม้งดอยปุย.ในอำนาจ พื้นที่และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
นัทธนัย ประสานนาม. (2550). “เพศ ชาติพันธุ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ในภาพยนตร์เรื่อง Touch of Pink.” [Online] Available http://www.mid nightuniv.org/midnight2545/document95248 [2558, กันยายน 2558]
พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2542). การสร้างและการปรับเปลี่ยนความเป็นเพศและจินตนาการทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นชาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวลักษณ์ กล้ามาก. (2549). การนำเสนอตัวตนของวัยรุ่นผ่านสัญญะของการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วงศ์เดือน ภานุวัฒนากูล. (2553). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์. (2550). “ครูตามแนวพระราชดำริ” วิทยาจารย์. 101(4) : 40.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ.2555-2558) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญผลกราฟิค.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อำพรรณ์ ปานเจริญ. (2556). วาทกรรมนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.