การออกแบบสื่อวิดีทัศน์เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม “รำโทน-นกพิทิด” ถ่ายทอดแก่กลุ่มเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและลักษณะการรำโทน-นกพิทิด เพื่อออกแบบรูปแบบและเนื้อหาสื่อวิดีทัศน์รำโทน-นกพิทิด และเพื่อประเมินความสนใจของเยาวชนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์รำโทน-นกพิทิด โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสนทนากลุ่มกลุ่มชาวบ้านจำนวน 13 คน ผลการวิจัยพบว่า การรำโทน-นกพิทิดเป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านของชาว ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับอิทธิพลการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมาจากภาคกลางในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ที่อยู่ในช่วงศึกสงคราม การรำโทนจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องบันเทิงเริงใจของชาวบ้านในภาวะบ้านเมืองมีความตึงเครียดเพราะสภาพการเมือง ลักษณะการรำโทนมีลักษณะการร้องประกอบท่ารำที่มีเนื้อเพลงสั้น ๆ สะท้อนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ซึ่งจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ทำให้ลักษณะเพลงร้องและท่ารำมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การรำโทนได้รับความนิยมน้อยลงทุกที เช่นเดียวกับที่ ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเรียกว่า รำโทน-นกพิทิด ด้วยเพราะมีเพลงเอก เป็นเพลงแสดงการเกี้ยวพาราสีของนกพิทิดหรือนกตระกูลนกฮูก จากนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบสื่อวิดีทัศน์เพื่ออนุรักษ์รำโทน-นกพิทิด โดยนำเสนอในรูปแบบรายการสารคดีประเภทวัฒนธรรมและนำเสนอลักษณะเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูลประวัติการรำโทน เนื้อร้องและท่ารำของรำโทน-นกพิทิดใน ต.กรุงชิง สถานการณ์ในปัจจุบัน ปราชญ์ชาวบ้านกับการคาดหวังการอนุรักษ์การรำโทน-นกพิทิด ความคิดเห็นของเยาวชนต่อการรำโทน-นกพิทิด และการเชิญชวนให้หันมาอนุรักษ์การรำโทน-นกพิทิด และผลการประเมินความสนใจของเยาวชนผ่านสื่อดังกล่าวจากการสนทนากลุ่ม และเยาวชน 5 คน ซึ่งพบว่า เยาวชนให้ความสนใจสื่อวิดีทัศน์ ตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านรำโทน-นกพิทิด เข้าใจลักษณะการร้องและรำ ตลอดจนแสดงความต้องการให้จัดกิจกรรมอื่นๆ และเผยแพร่ทางสื่อวิดีทัศน์ในลักษณะเช่นนี้อีก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คีตา พญาไท. (2555). เพลงรำวง เพลงพื้นบ้าน (1) : จากรำโทน สู่รำวง. [On-line]. Available : http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?News ID=9550000101085 [2550, สิงหาคม 16].
ณัฐนรี รัตนสวัสดิ์ (2552) รายงานผลการวิจัยเรื่องรำโทน คณะแม่ตะเคียน เทียนศรี ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 10(1) : 110-120.
นวลรวี จันทร์ลุน. (2548). พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชนาฏ ดีเจริญ. (2554). รำวงในเขตภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิจิตร. [On-line]. Available : http://ww w.human.nu.ac.th/newculture/article.php?id=19
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ สุจิรา เหลืองพิกุลทอง และนัยนา ภูลม. (2553). กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการรำโทนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5(2).
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2550). วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย: การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมความบันเทิงในสังคมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2471-2500.นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด.
ภาคนาฏศิลป์ไทยนครศรีธรรมราช. (2555). รำวงเวียนครก : แบบรำท่า. [On-line]. Available : https://paknattasinnakornsri.wordpress.com/ (2555, กุมภาพันธ์ 20).
รักชนกชรินร์ พูลสุวรรณนธี และอาคีรา ราชเวียง. (2556). การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ท่ารำมโนราห์เบื้องต้น. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4. [On-line]. Available : http://www.hu.ac.th/conference2013/proceedings2013/pdf/Book1/Poster1/131_48-55.pdf.
โรงเรียนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร. (ม.ป.ป.). รำโทน. [On-line]. Available : https://site s.google.com/site/ajanthus/ra-thon
วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์ และกนิษฐา เชยกีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
วีรจักร วงศ์เงิน. (2551). เพลงรำโทน: กรณีศึกษาคณะรำโทนบ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยดุริยางควิทยา.
สนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านและเยาวชน ต.กรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช. 3 และ 16 พฤษภาคม 2558.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี. (2548). รำโทน จังหวัดลพบุรี. [On-line]. Available : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performingarts/236-performance/282-----m-s