ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโรงแรมใบไม้สีเขียวกับความผูกพันของพนักงานในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วนิดา หาญเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโรงแรมใบไม้สีเขียวกับความผูกพันของพนักงานในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามกรอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโรงแรมใบไม้สีเขียวกับความผูกพันของพนักงานในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต แหล่งที่มาของข้อมูลการศึกษา คือ วิธีการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ โดยวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 387 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พบว่าปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโรงแรมใบไม้เขียวของธุรกิจโรงแรม ประกอบด้วย 18 ตัวแปรคือ นโยบายและการสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร คณะกรรมการ เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ การจัดการของเสีย ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ประสิทธิภาพการใช้น้ำ ครัวและห้องอาหาร ห้องซักรีด การจัดซื้อ คุณภาพอากาศภายในอาคาร มลพิษทางอากาศและเสียง น้ำและคุณภาพน้ำ สปาและการนวดเพื่อสุขภาพ สถานที่ออกกำลังกาย สระว่ายน้ำและกิจกรรมกลางแจ้ง ความปลอดภัยในโรงแรม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่น และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และระดับ 0.01 ใน 3 ด้าน ด้านแรกคือความเชื่อมั่นอย่างสูงในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างมาก กับความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านนโยบายและการสื่อสาร ด้านคณะกรรมการด้านคุณภาพอากาศภายในอาคารมลพิษทางอากาศและเสียง ส่วนข้อที่มีความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ ด้านประสิทธิภาพการใช้น้ำ ด้านที่สองคือความเต็มใจทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อประโยชน์ขององค์การ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างมาก กับความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านคณะกรรมการ ส่วนข้อที่มีความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย ได้แก่  ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ และสุดท้ายเป็นด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการคงไว้ซึ่งการเป็นสมาชิกภายในองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างน้อยกับความรับผิดชอบต่อสังคม สองอันดับแรก ได้แก่ ด้านนโยบายและการสื่อสาร และด้านคณะกรรมการ

Article Details

บท
บทความวิจัย