การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน โดยผู้วิจัยได้กำหนดกระบวนการวิจัยไว้ 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน 2) ขั้นสร้างมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน และ 3) ขั้นตรวจสอบความเหมาะสมของมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 5 กลุ่ม ได้แก่ นักกีฬาแบดมินตันมืออาชีพ นักกีฬาแบดมินตันมือสมัครเล่น ผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน ผู้ปกครองของนักกีฬาแบดมินตัน และผู้เชี่ยวชาญทางกีฬาแบดมินตัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า
มาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตันประกอบด้วย 6 มิติ 17 มาตรฐาน และ 74 สมรรถนะ ซึ่ง 6 มิติ ประกอบด้วยมิติด้านการฝึกอบรม มิติด้านความรู้ มิติด้านประสบการณ์ทางกีฬาแบดมินตัน มิติด้านจริยธรรม มิติด้านการสอนกีฬาแบดมินตัน และมิติด้านความปลอดภัย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2554. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) [Online]. http:// www.dpe.go.th/2014/home/dwl.p hp?fileid, [2557, ธันวาคม 4]
นภพร ทัศนัยนา. 2558. อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา. สัมภาษณ์, [2558, เมษายน 4]
ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ และณัฐวุฒิ สิทธิชัย. 2556. “การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของผู้ฝึกสอนกีฬา: แบดมินตัน”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 9 (1): 16-37.
สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2558. คะแนนสะสมรุ่นเยาวชน [Online]. http://www.badmintonthai.or.th/index.php?option=c om_attachments&task=download&id=259&lang=en, [2558, มีนาคม 8]
ASC. (2001). Quality coaching [Online]. http://www.ausport.gov.au/__data/ass ets/pdf_file/0018/442620/ Quality_Coaching.pdf, [2014, December 3]
BWF. (2015). BWF World Team Rankings [Online]. http://www.bwfbadminton. org/page.aspx?id=18740, [2015, April 10]
Beech, J., and S. Chadwick. (2013). The Business of Sport Management. 2th ed. London : Pearson.
CDO. (1997). Professional standards for dietitians in Canada [Online]. http:// www.cdo.on.ca/en/pdf/publications/ProfessionalStandardsforDietitians.pdf, [2015, July 21]
Coe, S. (1996). The Olympians: A Century of Gold. London : Pavilion.
Fleurance, P., and V. Cotteaux. (1999). Construction de l’expertise chez les entraîneurs sportifs d’athlètes de haut-niveau français [French expert coaches’ construction of expertise] [Online]. http://ir.lib.uwo.ca/cgi/vie wcontent.cgi?article=1056&context=etd, [2016, February 16]
Freeman, W. (2015). Track & Field Coaching Essentials. Illinois : Human Kinetics.
Fuller, C., and S. Drawer. (2004). The Application of Risk Management in Sport [Online]. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15157119, [2016, February 23]
Gearity, T. B. and A. M. Murray. (2011). Athletes’ experiences of the psychological effects of poor coaching [Online]. http://www.sciencedirect.com/scie nce/article/pii/S1469029210001457, [2014, December 4]
IOC. (2015). Qualities of a Great Sports Coach [Online]. http://www.olympic. org/content/olympic-athletes/athletes-space/entourage/coaches/?tab =coaches-qualifications, [2016, February 20]
Jowett, S., and I. M. Cockrill. [Online]. Olympic medalists’ perspective of the athlete–coach relationship (Online). http://ac.els-cdn.com/S1469029 202000110/1-s2.0-S1469029202000110-main.pdf?_tid=a74197e8-d84f-11e5-8705-00000aacb35e&acdnat=1456027412_b396f6 aaa0c01e8723a355fb25719f9f, [2016,February 21]
Lyle, J. (2002). Sports Coaching Concepts : A Framework for Coaches’ Behaviour. London : Routledge.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology [Online]. http://www.voteview.com/pdf/Likert_1932.pdf, [2016, February 23]
Martens, R. (2012). Successful Coaching. 4th ed. Illinois : Human Kinetics.
NASPE. (2006). Quality Coaches, Quality Cport : National standards for Sport Coaches. 2nd edition, Virginia : National Association for Sport and Physical Education.
Rovinelli, R. J. and R. K. Hambleton. (1977). “On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity”. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49–60.
Stufflebeam D. L. and A. J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models, and Applications. San Francisco : Jossey-Bass.
Trudel, P., and W. Gilbert. (2006). Coaching and Coach Education . London : Sage.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York : Harper and Row.