สัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นระบบคลังความรู้ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ และการบริการสู่ประชาชนเป็น Knowledge Service Provider ซึ่งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้อันเป็นพื้นฐานสำคัญในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ และในระยะที่ผ่านมาแม้ภาครัฐมีความตั้งใจที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้าน ICT โดยมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ผลที่ได้รับจากการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ไม่ได้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการใช้ ICT ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย และมีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้ใช้ไปในการนโยบายการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทยด้านการใช้ ICT ไปสู่การปฏิบัติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในคณะที่จัดการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการของมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย 5 กลุ่ม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) สัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) กลุ่มมหาวิทยาลัยและปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีค่าเฉลี่ยสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไม่แตกต่างกัน
3) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและกิจกรรมส่งเสริม ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านการวัดและประเมินผล และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและกิจกรรมส่งเสริม (X2) ด้านทรัพยากร (X3) และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร (X5) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสัมฤทธิผลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Y) โดยรวม ได้ร้อยละ 65.0 ดังสมการพยากรณ์ โดยใช้คะแนนมาตรฐาน (Z) คือ Y = 0.283X2 + 0.461X3 + 0.169X5
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี. (2552). “อิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอน”, ศึกษาศาสตร์. 20 (3), 79-92.
จันทนา ชื่นวิสิทธิ์. (2545). “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความสามารในการใช้คอมพิวเตอร์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรกับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลขอรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข”. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตรชัย ภูน้ำค้าง. (2548). “ความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนกร หวังพิพัฒน์วงศ์. (2550). การประยุกต์ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์, (2546). การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). รูปแบบของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา /อธิคม ฤกษบุตร, แปล.กรุงเทพฯ : สกศ.
วรเดช จันทรศร. (2556). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6 ) กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค
วิภาศิริ นราพงษ์. (2542). “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์กับความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข”. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพร วงษ์วานิช. (2555). “ปัจจัยองค์กรในการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี”. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4(1), 237-246.
สถาพร แก้วจันทึก. (2543). “ความรู้และทักษะของพยาบาลในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง”. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุธาศินี สีนวนแก้ว. (2553). “ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ ICT เพื่อการพัฒนาสังคมสู่สังคมคุณภาพ ในประเทศกำลังพัฒนา”, วิทยบริการ. 21 (2) : 126-138.
สุระชัย มาปังโม. (2555). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเต็มรูปของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21” มหาวิทยาลัยนครพนม. 2(1), 101-108.
Barnard, Chester. (1966). The function of Executive. Cambridge: Harvard University press.
Carty, B., and Phillip, B. (2001). The nursing curriculum in the information in the information age. In Saba, V. ed. Essentials of computers for nurses: informatics for the new millennium. 3rd ed. New York: Mc Graw-Hill.
Drucker, Peter F., (1995). Innovation and Entrepreneurship, Butterworth Heinemann. Clinical information system. Computer in Nursing 15(2):71-76
Senge, Peter M. 1990. The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. New York : Doubleday
Whittaker, H. (1999). Communities and ecosystems . [Online]. Available: http:// en.wikipedia.org/wiki/communication technology [2009, May 15].