การสื่อสารความหลากหลายของพรรณพืชในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ การสื่อสารความหลากหลายของพรรณพืชในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ สวนป่าชุมชน ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในสวนป่าชุมชน ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และจัดทำคู่มือศึกษาพรรณพืช ในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ บริเวณสวนป่าชุมชน ตำบลลำทับ อำเภอลำทับจังหวัดกระบี่ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือศึกษาพรรณพืช กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลำทับ จังหวัดกระบี่ จำนวน 98 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความหลากหลายของพรรณพืช ใช้วิธีการวางแปลงตัวอย่างตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลพรรณพืชใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์กำหนดจุดสื่อสารและเลือกชนิดพรรณพืชเพื่อการสื่อสารโดยการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือศึกษาพรรณพืช สถิติในการวิเคราะห์ หาประสิทธิภาพในการสื่อสารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ E1/ E2 = 80 /80 เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t – test ด้านความพึงพอใจ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การสำรวจความหลากหลายของพรรณพืช พบพืชจำนวน 31 วงศ์ 40 ชนิด ผลการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นกำหนดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และสื่อสารผ่านคู่มือศึกษาพรรณพืชจำนวน 19 ชนิด และกำหนดจุดสื่อสาร 6 จุด การสื่อสารมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.30/81.53 ผลสัมฤทธิ์หลังการสื่อสารสูงกว่าก่อนการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อคู่มือศึกษาพรรณพืชมีอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
เต็ม สมิตินันทน์ (2544). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ทนงศักดิ์ ตัณฑวณิช (2553). การพัฒนาคู่มือศึกษาธรรมชาติ เพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ณ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2551). เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ [Online]. Available :http://www thaiall.com/blog/burin/1165/[2558,พฤษภาคม 8].
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ป่าไม้, กรม. (2556). การจัดการป่าชุมชน. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชน กองการจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). ฐานข้อมูล PHARM Database. [Online].Available :http://www.medplant.mahidol.a c.th/new/pharm/search.asp. [2557, 20 ธันวาคม].
สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. (2556). พืชที่ใกล้สูญพันธุ์. [Online].Available : http://chm- thai.onep.go.th/chm/red_plant.html [2556, 31 ตุลาคม].
สำนักหอพรรณไสำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีข้อมูลพรรณไม้ .(2557). ข้อมูลพรรณไม้. [Online].Available :http://rspg.or.th/information/index .htm. [2557,13 ธันวาคม].
สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. (2557). ข้อมูลพรรณไม้. [Online].Available : http://rspg.or.th/plants_data/index.htm. [2557, 13 ธันวาคม].
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2557). ฐานข้อมูลพรรณไม้. [Online].Available : http://www.qsbg.org.[2557, 13 ธันวาคม].