การสื่อสารความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับน้ำพุร้อนเค็ม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ให้แก่นักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการสื่อสารความรู้เกี่ยวกับน้ำพุร้อนเค็ม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สื่อสารความรู้เกี่ยวกับน้ำพุร้อนเค็ม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 2 จังหวัดกระบี่ จำนวน 109 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random) กำหนดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และสื่อสารผ่านสื่อมัลติมีเดีย สื่อโปสเตอร์และแผ่นพับ ผ่านจุดสื่อสาร 3 จุด เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ สถิติในการวิเคราะห์ หาประสิทธิภาพในการสื่อสารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ E1/ E2= 80/80 เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t – test ด้านความพึงพอใจ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.28/80.09 ผลสัมฤทธิ์หลังการสื่อสารสูงกว่าก่อนการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อการสื่อสารมีอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.75
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กานดา ช่วงชัย. (2553). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนในแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ : กรณีศึกษา : น้ำพุร้อนแม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารวิทยาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราช-ภัฎเชียงราย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ [Online]. Available : http://www.tourismkm-asean.org/ [2557, เมษายน 18].
บุญเหลือ ทองเอี่อม. (2552). การใช้สื่อการสอน. [Online]. Available: http:// http://e-book.ram.edu/e-book/a/av353(new).htm.พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี.
พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2544). สื่อสารสาธารณสุข. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
ภาษิต สุโพธิ์. (2547). การใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติบริเวณโรงเรียนในการพัฒนาการแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกระบี่ กระทรวงพาณิชย์ .(2555). แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ [Online]. Available: http://:www.go.th/krabi [ 2555, มิถุนายน 16].
ศรายุธ หมาดหลี. (2551). โครงการออกแบบสื่อมัลติมเดียเพื่อการเรียนการสอน ด้านดาราศาสตร์ เรื่อง “การดูดาว” วิทยานิพน์หลักปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบนิเทศศิลป์) : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สมถวิล จริตควร. (2535). ชีววิทยาทางทะเล. ชลบุรี : ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกระบี่ กระทรวงพาณิชย์ .(2555). แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ [Online]. Available: http://:www.go.th/krabi [ 2555, มิถุนายน 16].
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยน้ำขาว. (2553). ผลการวิเคราะห์น้ำพุร้อนเค็ม. เอกสารอัดสำเนา.
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์ กรุงเทพฯ :วิสคอมเซ็นเตอร์.