ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

Main Article Content

จุติมา พันธุ์ช่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่ายอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรังปัญหา อุปสรรคต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรังและข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


   ผลการวิจัยพบว่า
ระดับปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยปัจจัยที่มีระดับสูงสุดคือปัจจัยด้านประชาชนมีสำนึกต่อปัญหาส่วนปัญหา อุปสรรคต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกภาครัฐทั้งในระบบนโยบายมาตรการขาดโอกาสแสดงความคิดเห็นในการเข้าร่วมลงมติเพื่อสร้างนโยบายในการแก้ไขปัญหาปัจจัยด้านประชาชนมีสำนึกต่อปัญหา ประชาชนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและประโยชน์ร่วม ปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ประชาชนขาดการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและปัจจัยจูงใจ การได้รับผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วม ขาดความสามัคคีไม่ค่อยเห็นถึงประโยชน์การมีส่วนร่วมโดยมีข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกภาครัฐทั้งในระบบนโยบายมาตรการ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและในการพัฒนาปัจจัยด้านประชาชนมีสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วม สร้างกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นเพื่อให้เกิดความสามัคคี สัมพันธภาพมากขึ้นในชุมชนปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและปัจจัยจูงใจ การได้รับผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วม จัดกิจกรรมเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ ถาปันแก้ว. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

นัยนา ปานศาสตร. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช. (2550). กรุงเทพ : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

สุดาวรรณ์ มีบัว. (2547). การมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมตำบลในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมจิตร ศรีแสนยง. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของประชาชนตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมศักดิ์ น้อยนคร. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารและพัฒประชาคมเมืองและชนบทอุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

อัญชลี เฉลยรัตน์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำกรอบแผนพัฒนาตำบล กรณีศึกษา : ตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อดิสรณ์ ขัดสีใส. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณ ภมร,พ.จ.อ. (2547). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย. (2557). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2555 - 2557. ตรัง : สำนักปลัด.

Cronbach, L. J. (1990) . Essentials of Psychology Testing. New York : Harper and Row.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw–Hill Book, Co.