ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลของชีวิตกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฐพันธุ์ ตติยาภรณ์
ธนายุ ภู่วิทยาธร
นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสมดุลของชีวิตของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลของชีวิตกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลกับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของผู้ป่วยในที่ขึ้นกับกองการพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสมดุลของชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับ 859 และแบบสอบถามประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับ 848 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติความถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise


ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับความสมดุลของชีวิตของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านงาน ด้านครอบครัว และด้านตนเอง อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม


2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรับรู้ลักษณะงาน ด้านความพึงพอใจในการทำงาน และด้านความต้องการความก้าวหน้า


3) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีมีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรงกับความสมดุลของชีวิต อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .774 อำนาจในการทำพยากรณ์มีค่าเท่ากับร้อยละ 59.90 ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานและคะแนนดิบดังนี้


คะแนนดิบ


  ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน


   =  1.267 + .353(ด้านสังคม X4) + .163(ด้านตนเอง X1) + .189(ด้านงาน X2)


สมการคะแนนมาตรฐาน


  ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Z)


  = .414 (ด้านสังคมX4) + .249(ด้านตนเองX1)  + .239(ด้านงานX2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปภัมถ์.

จุฑาภรณ์ หนูบุตร. (2554). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลวิภาวดี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลพรรษ ดีมา. (2544). ผลการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยยุทธ กลีบบัว และพรรณระพี สุทธิวรรณ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมการมองโลกในแง่ดี กับความเหนื่อยหน่ายของพนักงานในการทำงาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย,22(3), 411-426.

ณัฎฐาสิริ ยิ่งรู้. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2551). การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน [Online]. Available http://www.wiseknow.com/blog/2008/07/21/549/#axzz1yhborP9Q.[2558, มกราคม 12].

นิศาชล โทแก้ว. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลชีวิตในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้าธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญฤกษ์ บุญคง. (2556) .ความสมดุลของชีวิตกับคุณภาพการทำงาน ของพนักงานในสำนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปิยนาถ นวลละออง. (2555). การสนับสนุนทางสังคมกับสมดุลชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พร ภิเศก. (2546). วัฒนธรรมองค์การและปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี, ฝ่ายแผนงาน. (2558). สรุปรายชื่อบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีปี 2558. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.

ลักขณา สุวรรณรอด. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลัดดาวัณย์ สกุลสุข. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. (2541). ปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน.

สมบูรณ์ สกุลสุจิราภา. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สันติ บางอ้อ. (2540). การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน. Productivity World,2, 39-40.

สุเนตร นามโคตศรี. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เอกชัย อภิศักดิ์กุล และคนอื่น ๆ. (2551). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.

Daalen G.V., Willemsen T.M., & Sanders K. (2006). Reducing work-family conflict through different sources of social support. Journal of Vocational Behavior, 69, 462-476.

Eisenberger, R. & others. (1986). Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 71, 500-507

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.