การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนเรียน กรณีศึกษา : สถานรับเลี้ยงเด็กบ้านอัจฉรา

Main Article Content

รานี ระวังกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านอัจฉราและศึกษาเงื่อนไขที่มีผลต่อความสำเร็จของสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านอัจฉราผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 19 คน ประกอบด้วย เจ้าของสถานรับเลี้ยงเด็ก คณะกรรมการสถานรับเลี้ยงเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก และ ผู้ปกครองเด็ก ผู้วิจัยติดตามเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จนกระทั้งได้ข้อมูลที่อิ่มตัวและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า แล้วสรุปเป็นประเด็นต่างๆโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ได้ผลการศึกษา ดังนี้


ผลการศึกษาพบว่า สถานรับเลี้ยงเด็กบ้านอัจฉรามีรูปแบบและหลักการบริหารจัดการจำแนกได้ 3 หลัก ได้แก่หลักกัลยาณมิตร หลักการมีส่วนร่วม และ หลักประกันคุณภาพ โดยผู้บริหารจะต้องเป็นบุคคลที่มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีศีล สมาธิ ปัญญาใช้ความเป็นกัลยาณมิตร มีคุณธรรม 7 ประการ คือ ปิโย ครุภาวนีโย วัตตาจะ วจนักขโม คัมภีรัญ จะ กะถังถัตตาโน จัฎฐาเนนิโยชะเย และประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้หลักการมีส่วนร่วม โดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชนเข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินงานด้วยประกอบด้วย การมีส่วนร่วมดูแลเลี้ยงดูเด็ก การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และใช้หลักการประกันคุณภาพในการบริหารจัดการคุณภาพประกอบด้วย การวางแผนการลงมือปฏิบัติการตรวจสอบกระบวนการและการปรับปรุงงานอยู่เสมอ


สำหรับเงื่อนไขที่มีผลต่อความสำเร็จของสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านอัจฉราประกอบด้วย 6 เงื่อนไขได้แก่ 1)ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีประสบการณ์ รักเด็ก ตั้งใจปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบสูง 2) ผู้บริหารต้องมีการปกครองแบบแม่ปกครองลูกให้ความรักและความเข้าใจในการทำงาน 3) ผู้ปกครองต้องใส่ใจคอยดูแลเอาใจใส่บุตรหลานเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกันกับสถานรับเลี้ยงเด็ก 4) เด็กต้องได้รับการพัฒนาตามมาตรฐาน เด็กที่จบตัองมีภาวะโภชนาการดีสามารถเจริญเติบโตได้สมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐานของพัฒนาการตามวัย 5) สิ่งแวดล้อมทีดีสถานที่ตั้งต้องอยู่ในชุมชน เดินทางสะดวกปลอดภัย 6) ทีมงานต้องเข้มแข็งใช้ความสามัคคีเป็นหลักในการบริหารงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์

นัยนา ยิ่งสกุล. (2545). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดสถานบริบาลเด็กก่อนวัยเรียนของเอกชนกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัวขาว จารุจินดา. (2546). การจัดการธุรกิจสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.(อาชีวศึกษา ) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

บุรัญชัย จงกลนี. คุณธรรมของนักบริหาร. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สัตยการพิมพ์. ม.ป.ป.

ปรานี พรรณวิเชียร. (2530). วิชาหลักการจัดการ, กรุงเทพฯ : ประกายพรึก.

เปรมรุ่ง วงศอนันต์. (2551). ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้ารับการดูแลในสถานศึกษาเด็กเล็กเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.

เยาวภา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แม็ค.

ทิพวรรณ จันทรสถิตย์. (2546, มกราคม – ธันวาคม). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการ. 3(1) : 13 – 19.

พระพรหม อุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. หน้า 11 – 13.

เรขา ศรีวิเชียร. ( 2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2544). หลักและทฤษฏีการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สรัญธร ฉันทวรภาพ. (2544). แนวโน้มการนิเทศการศึกษาในระดับปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุพล วังสินธิ์. การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูการศึกษา. วารสารวิชาการ.5 (6) : 29 – 30, มิถุนายน, 2543.

เสวี รักเหล็ก. (2547). การศึกษากระบวนการบริหารจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำเริง โภชนาธาร. (2548). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคใต้.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. ( 2543). การนิเทศภายในเป็นหัวใจการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 2(10) : 6.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2542.