ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกระบี่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้าน ในการทำงานด้านปริมาณงานและความรับผิดชอบกับความผูกพันต่อองค์กรด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามในฐานะที่เป็นตัวแทนขององค์กร พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงโดยมีค่าสูงสุด (r=0.763)ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการทำงานด้านเงินเดือนและค่าจ้างกับความผูกพันต่อองค์กรด้านความเชื่ออย่างแรงกล้าและยอมรับอย่างจริงจังในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำโดยมีค่าต่ำสุด (r=0.333) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรครูจำนวน 92 คนโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กร มีค่าความเชื่อมั่น 0.95และ 0.93ตามลำดับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ระดับปานกลาง 1 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือด้านเงินเดือนและค่าจ้าง และด้านโอกาสและความก้าวหน้า ตามลำดับ ระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านความเชื่ออย่างแรงกล้าและยอมรับอย่างจริงจังในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กรด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามในฐานะที่เป็นตัวแทนขององค์กร และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์กรความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง ( r = .683) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จริยา สุขสละ, ดวงตา สราญรมย์และสะอาด บรรเจิดฤทธ์ (2551). ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจที่มีต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การกรณีศึกษาบริษัทขนส่งจำกัด หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี.
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เต๋า.
ดลฤดี เกตุรุ่ง (2555). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันองค์การของครูในโรงเรียนเอกชนสังกัดสานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นันทนา ประกอบกิจ (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีฝ่ายพัฒนาชุมชนสำนักงานเขตสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นารี หมู่มาก (2547). ปัจจัยที่เกี่ยวกับพนักงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มธุรกิจภาษาและคอมพิวเตอร์ในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นรา สมประสงค์. (2552). การจูงใจในประมวลชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษาหน่วยที่5-8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรัตน์ พ่วงเพ็ชร. (2549). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการทั่วไป).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สมใจ เกิดพูลผล (2554). การศึกษาความท้อแท้ของครูศูนย์การเรียนชุมชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงาน ก.ค.ศ.สำนักงาน(2553) กรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2) ในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.เอกสารอัดสำเนา,25 มกราคม 2553.
ชาญวุฒิ บุญชม. (2553). ความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสลามสันติชนกรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อิสราภรณ์ รัตนคช. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H. (1991). Organizations : Behavior, structure, processes. Homewood, IL: Irwin.