ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ในซาราวัก ประเทศมาเลเซีย

Main Article Content

จีรพรพจี ศรีเพชรเจริญ
รศ.ดร.สุพรรณี เหลือบุญชู

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง“ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย” ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลในลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายของการวิจัยอยู่ 2 ประการคือ 1) ศึกษาดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย 2) ศึกษาการสืบทอดและพัฒนาการดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย


ผลของการวิจัยพบว่า ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย เครื่องดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย กลุ่มชาติพันธุ์ในซาราวักทั้ง 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ อิบัน บิดาหยู ออรังอูลู มีลักษณะดนตรีที่เกี่ยวข้องกัน แบ่งได้ตามหลักมานุษยดุริยางควิทยาเป็น 4 ตระกูล ได้แก่ ประเภทเครื่องกระทบ (Idiophon) ฆ้อง (Agung) และตาวัก (Tawak) ประเภทเครื่องหนัง (Membraophone) ได้แก่ กลองกีตาบอง(Ketebung)ซึ่งเป็นกลองที่มีหลายขนาด ประเภทเครื่องสาย (Chordophone) ได้แก่ ซาเปะ (Sape) เป็นเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายกีตาร์ในดนตรีตะวันตก แต่มีขนาดรูปร่างของกล่องเสียงและ(Chordophone) ได้แก่ ซาเปะ ลำตัวยาวกว่า และประเภทเครื่องลม (Aerophone) ได้แก่ บิลชิว (Branchi),โครโต (Kroto) และนโชย (Nchiyo) ของ Bidayuh มีสามประเภททำจากไม้ไผ่เป็นเครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย


นอกจากนี้ดนตรีที่ประกอบการแสดงยังได้กล่าวถึงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก เช่น การทำมาหากิน การล่าสัตว์ ธรรมชาติ เรื่องหนุ่มสาว เป็นต้น การแสดงประกอบดนตรีที่โดดเด่นที่นิยมเล่นในฤดูการเก็บเกี่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์อิบัน ได้แก่ การแสดงชื่อ งากัต (Nagut) ยูลีนูกัน (ULE NUGAN) คือการฟ้อนรำซึ่งเป็นการแสดงที่นำเสนอเกี่ยวกับอาชีพเพาะปลูกของชาวเผ่าออรัง อูลู โดยที่นักแสดงผู้ชายจะถือไม้ถือไม้ ดิ๊บบลิง (dibbling) ซึ่งเป็นเครื่องมือใช้สำหรับในการเพาะปลูกของชาวปาได (Padi) ชนเผ่าย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของออรัง อูลู เครื่องมือที่ใช้เป็นลางบอกเหตุซึ่งมีบทบาทและใช้อยู่ในชีวิตของพวกเขา ทำจากแผ่นไม้ไผ่ชื่อ กีลีโบบูโล (kerebo Bulo) เป็นเครื่องรางที่เสมือนหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องดนตรี ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับร้ายต่าง ๆ เครื่องรางนี้สามารถสร้างเสียงเคาะที่เหมือนนกเงือกร้องได้ การแสดงและดนตรีประกอบของเผ่าบิดายุห์ การเต้นรำจะเกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา มีความเป็นเอกลักษณ์ของจิตวิญญาณ เชื่อในจิตวิญญาณความดีและความชั่ว เชื่อว่าการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะและในขณะที่อยู่ในภวังค์จะสามารถสื่อสารกับจิตวิญญาณ (Ieng) ได้


การสืบทอดและพัฒนาการดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซียจากการที่นโยบายการบริหารจัดการดนตรีของประเทศมาเลเซีย ให้ความสำคัญกับดนตรีทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้สร้างหมู่บ้านวัฒนธรรมขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความเจริญทางวัฒนธรรม รัฐซาราวักเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในการดำเนินการตามนโยบายนั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกวัฒนธรรมในรัฐซาราวักเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนักดนตรี คนหนุ่มสาวให้ความสนใจในการเรียนรู้ดนตรีในรัฐซาราวักและพัฒนาดนตรีประจำกลุ่มชาติพันธุ์ของตนมากขึ้นในขณะเดียวกันความสนใจในดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์เป็นไปในทางการค้ามากกว่าความสนใจจากเจตคติที่แท้จริงซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสืบทอดและถ่ายทอดความรู้ในบางส่วน จากการที่ถ่ายทอดความรู้จากครูสู่ศิษย์ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเริ่มเกิดขึ้นโดยศึกษาจากสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยประเภทต่าง ๆ และจากการที่รัฐบาลมาเลเซียเข้ามาเป็นแรงผลักดันให้ดนตรีในรัฐซาราวักตื่นตัวขึ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีในรัฐซาราวักประเทศมาเลเซีย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จีรพรพจี ศรีเพชรเจริญ, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิสิตปริญญาเอก (ปร.ด.) ดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รศ.ดร.สุพรรณี เหลือบุญชู , วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

Estlund, Amber L. (2008). Struck by Aesthetics: Recuperating Folk Drama. Florida : Florida Atlantic University.

Iban. (2009, January). Iban. Retrieved January 2009, 30, from http://www. nikrakib blogsprot.com.

Mingkwan Chonpairot. (2008). Conservation and Revitalization and Development of Cultural Identity and Traditions of the Kula Ethnic in Isan. Doctoral Dissertation, Maha Sarakham: Mahasarakham Univesity.

Talusan, M.I. (2004). Cultural Localization and Transnational Flow: Music in Magindanaon Communities of the Philippines. Doctoral Dissertation, University of California, Los Angeles. Available from: UMI ProQuest Digital Dissertation, (UMI Order no.3218677).

Yang, Minkang. (2002). A Study If The Music Tradition and Its Contemporary Change of The Theravada Buddhist Festival Ritual Performance of Dai Ethnic Nationality in Yunnan. Hong Kong: Chinese University of Hong Kong.

Korakot Wongsuwan. (2006). Diffussion of Thai Music by Indigenous Philosophers in Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Dissertation, Bangkok: Silpakorn University.

Somsak Sisantisuk. (2001).Study of Society and Culture: Concept, Methodology and Theory. Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University.