การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บเพจ เพื่อการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 47 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ผู้วิจัยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการจับฉลาก จากห้องเรียนที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน จำนวน 3 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และแบบสอบถามเจตคติที่ใช้มาตราวัดทัศนคติของลิเคอร์ท (Likert Scale) จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t – test
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ 80.11 / 84.68
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้เว็บเพจเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้เว็บเพจ อยู่ในเกณฑ์ ความพอใจระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.
จันทร์สุดา รัฏฐาภิปาลโนบาย. (2555). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่องการแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีด สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2540). อินเตอร์เน็ต : เครือข่ายเพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 26(2) : 7 – 9.
ทองกร ศรีบุญเรือง. (2552). การพัฒนาเว็บเพจการศึกษารายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิวาภรณ์ เลิศวีรพล. (2553). ผลการใช้เว็บเพจเพื่อการศึกษารายวิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้าสถิต สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรพจน์ แสวงดี. (2551). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการสร้างเว็บเพจ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนบนเว็บแบบการสร้างสรรค์ ความรู้ด้วยตนเองกับ การสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาสนา ณ สุโหลงและคณะ. (2553). ผลของการเรียนโดยบทเรียนบนเว็บแบบ Hyper Quest เรื่อง อารมณ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2527). การศึกษาทางไกลกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย [บทสัมภาษณ์] / ผู้สัมภาษณ์ ไพฑูรย์ สินสารัตน์, & ศิริพันธุ์. วารสารครุศาสตร์, 12(4), 29-57
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2538). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง พ.ศ.2539-2550. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
__________. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
__________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อาชิรญาณ์ เกษสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบการจัด การเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาโปรแกรมนำเสนอข้อมูล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อาภามาส นิโกรธา (2552). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง ทักษะการเขียนเรียงความโดยใช้เว็บบล็อกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร นครปฐม.
Hall, K. A. (1982). Computer-Based Education in Encyclopedia of Educational Research by Harold E. Mitrel. New York : Free Press
Knowles, M. S. (1975). Self-directed Learning : A Guide for Learnners and Teacher. New York : Association Press.
Kulubacak, G. (2000). A Study of Students’ Attiludes Towards We-based instruction (WBI). [Online]. Avalible : HTTP: http://lib.umi.com/ dissertations/ fullcit/9973125. (2007, February)
Lee, J. L. (1975). The Effectiveness of a Computer-Assisted Program Designed to teach Verbal-Descriptive Skill upon an Aurak Sensation of Music. Dissertation Abstracts International. 36(3) : 1364-A.