องค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

Main Article Content

นัฎจรี เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จำแนกหมวดหมู่ ตีความ ถอดรหัส สังเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า มี 6 องค์ประกอบหลัก 138 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านการมีวิสัยทัศน์ มี 33 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ มี 20 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน มี 35 ตัวบ่งชี้ ด้านความร่วมมือกับชุมชน มี 24 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม มี 9 ตัวบ่งชี้ และด้านการพัฒนาสังคม มี  17 ตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้ง 7). กรุงเทพฯ : บี.เค.อินเตอร์ปรินท์.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารของคณบดีในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2551). ภาวะผู้นำของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ศึกษา- ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและการบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2550). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พูลสุข สังข์รุ่ง. (2550). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี : บี เค อินเตอร์ปริ้นท์.

มานิตย์ บุญประเสริฐ. (2549). การพัฒนาภาวะผู้นำอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.

มานิตย์ บุญประเสริฐ และคนอื่นๆ. (2549). การพัฒนาภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานการพิมพ์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พุทธศักราช 2547 เล่ม121 ตอน 23 ก. ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2547.

วิจารณ์ พานิช. (2545). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. [Online]. Available : http://www.xmi.ro.th/document/xm_bureav.zip/11. [2555, พฤษภาคม 20]

วิษณุ เครืองาม. (2554). เล่าเรื่องผู้นำ. กรุงเทพฯ : มติชน

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Culkin, M.L. (1997). Administrative leadership. In Kagan, S.I., & Bowmam,B.T. (Eds.), Leadership (pp. 23-32). Washington, D.C. : National Association for the Education of Young Children.

Dubrin, A.J. (2005). Leadership : research/findings, Practice and skills (4th ed.). New Delhi : Biztantra.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Educational administration (6th ed.). Singapore : McGraw-Hill.

Jago, A.G. (1982). Leadership : perspectives in theory and research. management science. [Online]. Available : mansci.journal.informs.org/ content/28/3/315 [2011, March 14]

Luthan, F. (1995). Organizational Behavior (7th ed.). Singapore : McGraw-Hill.

Mcshane, S.l., Glinow, M.A.V. (2000). Organizational Behavior. U. S. A. : McGraw-Hill High Education.

Northouse, P.G. (2010). Leadership : theory and practice. California : Sage.

Sergiovani, T. J., Kelecher, P., Mchathy, M. M., & Wirt, F.M. (2004). Education Governace and Administration. (5th ed.). Boston : Person Education.

Stogdill, M.R. (1974). Handbook of leadership : A survey of theory and research. New York : Free.