การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

อาฉ๊ะ บิลหีม
อานันท์ นิรมลม
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความรู้การประกันคุณภาพการศึกษาก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจ ต่อโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา บนระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตกับเกณฑ์ 3.50 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 72 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา แบบประเมินคุณภาพโมบายแอปพลิเคชัน แบบทดสอบความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโมบายโมบายแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) โมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/81.89 เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด 2) นักศึกษามีความรู้การประกันคุณภาพการศึกษาหลังเรียนด้วยโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมาก แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อาฉ๊ะ บิลหีม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

อานันท์ นิรมลม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย

References

คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2526). เทคโนโลยีและการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ยูไนเต็ดโปรดักชัน.

ดาราวรรณ นนทวาสี วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ และเอกสิทธิ์ เทียมแก้ว. (2556). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร จังหวัดลำพูน. เอกสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. (ครั้งที่ 15). 50 ปี มข.แห่งการอุทิศตนเพื่อสังคม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ = 21st CENTURY SKILLS Rethingking how students learn. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.

วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2554). การพัฒนาแอปพลิเคชันฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. งานวิจัยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.

สดใส วิเศษสุด ทวีศักดิ์ สรรเพชุดา และธิติพงษ์ วงสาโท. (2556). การพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เครือข่ายผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อนำเสนอการปรับปรุงแอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการนำชม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านอิเลิร์นนิ่ง 2556. 5-6 สิงหาคม 2556 นนทบุรี.