พินิจการแสดงละครเมืองถลางชนะศึก สู่การสื่อความหมายแนวทางใหม่ผ่านการสื่อความหมาย

Main Article Content

นพศักดิ์ นาคเสนา
มนัส แก้วบูชา
สมโภชน์ เกตุแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของสงครามเก้าทัพ ณ ศึกเมืองถลาง ตลอดจนบริบทพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ และบุคคลสำคัญในจังหวัดภูเก็ต ศึกษาพินิจวรรณกรรมและวิเคราะห์กระบวนพัฒนาการแสดงสู่เมืองถลางชนะศึก เพื่อสื่อความหมายแนวทางใหม่ของงานศิลปะการแสดงเมืองถลางชนะศึก โดยการนำระเบียบวิธีของกฎบัตรอิโคโมสไทย หลักการจัดการแสดง ตลอดจนกฎบัตรด้านการท่องเที่ยวนานาชาติมาดำเนินการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า สงครามเก้าทัพ เหตุแห่งศึกเมืองถลาง เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2327 - 2328 มีสถานที่สำคัญ คือ ทุ่งถลางชนะศึก อันเป็นสมรภูมิรบในการทำศึกสงคราม โดยมีท่านผู้หญิงจัน และคุณมุก ผู้รวบรวมไพร่พลชาวถลางต่อสู้กับกองทัพพม่าจนได้รับชัยชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 จึงนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาสร้างสรรค์เป็นการแสดง แสง สี เสียง ถลางชนะศึก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562)


การแสดงมีการพัฒนาทั้งสถานที่ บทละคร การละคร และเทคนิคการแสดงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดความน่าสนใจ จึงเสนอแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นกระบวนการจัดการโดยใช้กฎบัตรอีโคโมสไทย เรื่องการสื่อความหมาย การนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อความหมาย ผู้สื่อความหมาย-วิทยากรประจำแหล่ง ตลอดจนแหล่งมรดกด้านวัฒนธรรมและนัยการสื่อความหมายมาสร้างสรรค์เป็นแนวทางใหม่ในการจัดการแสดง แสง สี เสียง ถลางชนะศึก เพื่อให้การแสดงมีความน่าสนใจ อันจะส่งผลดีต่อวัฒนธรรมความบันเทิงและการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งทำให้ประชาชนในท้องถิ่นและผู้คนในชาติตระหนักถึงความรู้รักสามัคคีในการรักและหวงแหนผืนแผ่นดินที่บรรพบุรุษได้เสียสละทั้งเลือดเนื้อและจิตวิญญาณในการปกป้องรักษาเอาไว้ให้ลูกหลานได้ทำมาหากินจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นพศักดิ์ นาคเสนา, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม

References

Lertrakmongkol, S. (1997).Sustainable Tourism to Sustainable Development.eTAT Tourism Journal, Vol (No.16), pp 13 – pp 14. [in Thai]

Punpapop, S. (n.d.). Play Analysis. Retrieved from https://fineart.msu.ac.th/e-documents/myfile/ [in Thai]

Pongwat, S. (2014). Art knowledge in Southern Sea. Bangkok: Samlada Printing Press. [in Thai]

Prasert, S. (2008). Guidelines and Patterns of Conservation, Rehabilitation, and Development of Conventions and Traditions of the Nyahkur Ethnic Group for Cultural Tourism in Changwat Chaiyaphum (Doctor of Philosophy program in Cultural Science’s thesis, Faculty of Cultural Science, Mahasarakham University. [in Thai]

Sensai, P. (2007). Whatever However to be Director of Performance. Mahasarakham: Mahasarakham University Press. [in Thai]

Skyexits. (2019,10 May). Rule Costume for acting and Characteristics of Tool Materials and Dress Sewing Equipments. Retrieved from http://starskyexits.blogspot.com/2013/05/blog-post.html [in Thai]

The ICOMOS Charter for the Interpretation and Presentation of Cultural Heritage Sites. (2019). Retrieved from http://icomosthai.org/charters/Ename%20Charter%20_Thai.pdf. [in Thai]

Tourism Authority of Thailand. (n.d). Basic of Rules and principles to create performing arts of Light and Sound (n.p.) [in Thai]

Wirunrak, S. (2000). Introduction to Performing Arts. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]