ความต้องการสารสนเทศของนักวิจัยเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาภาคใต้

Main Article Content

นวพล แก้วสุวรรณ
กันยารัตน์ เควียเซ่น
ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศของนักวิจัยเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) นักวิชาการ/นักวิจัย ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ จำนวน 327 คน จาก 78 หน่วยงาน และ (2) ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ หรือ หัวหน้ากลุ่มจังหวัด หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติราชการในการบริหารจัดการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ทั้ง 3 กลุ่มจังหวัด รวมจำนวน 3 คน ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามความต้องการสารสนเทศ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 และ (2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งทำการสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบท และการบริหารกลุ่มจังหวัดภาคใต้ที่สำคัญ ความต้องการสารสนเทศและการยืนยันองค์ความรู้ในภาคใต้ สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาภาคใต้ และทุนด้านต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มจังหวัดให้เกิดข้อได้เปรียบในการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีเชิงผสมผสานวิธี ดังนี้ (1) ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามความต้องการ (2) ใช้วิธีเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เชิงเนื้อหาในการหาข้อสรุปจากผลการสัมภาษณ์


ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้


1. ประเด็นความต้องการสารสนเทศของนักวิจัยเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาภาคใต้ ด้านที่ 1 เกี่ยวกับด้านข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย พบว่า ในภาพรวมความต้องการในการออกแบบ และพัฒนาระบบ อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะต้องการให้ระบบสามารถค้นหาพื้นที่ในการทำวิจัย (ขอบเขตในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือพื้นที่ทำการทดลอง/วิจัย) ต้องการให้ระบบสามารถค้นหางานวิจัยจากประชากรที่ใช้ในการวิจัย และต้องการให้ระบบสามารถแสดงโจทย์การวิจัย หรือประเด็นปัญหาที่นำไปสู่การวิจัยได้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ต้องการให้ระบบสามารถค้นหาผู้เชี่ยวชาญที่ทำการประเมิน หรือเป็นที่ปรึกษางานวิจัย


2. ประเด็นความต้องการสารสนเทศของนักวิจัยเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาภาคใต้ ด้านที่ 2 เกี่ยวกับด้านข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย พบว่า ในภาพรวมความต้องการในการออกแบบ และพัฒนาระบบ อยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ต้องการให้ระบบสามารถค้นหางานวิจัยจากการเลือกพื้นที่วิจัยแบ่งตามกลุ่มจังหวัดสำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ (ชายแดน/อ่าวไทย/อันดามัน) ต้องการให้ระบบสามารถค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากการอ้างอิงบุคคล หรือผลงานจากบรรณานุกรมของงานวิจัย ต้องการให้ระบบสามารถค้นหางานวิจัยจากพื้นที่วิจัยได้ และต้องการให้ระบบสามารถแสดงผลการวิจัยแบบย่อ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ต้องการให้ระบบสามารถค้นหางานวิจัยจากการเลือกประเภทลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูล


3. ความต้องการ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ พบว่า


3.1 ต้องการให้กลุ่มจังหวัดสามารถยืนยันองค์ความรู้ของตนเองอย่างชัดเจนให้ได้ว่าขาดองค์ความรู้ หรือมีองค์ความรู้ใดในกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สามารถนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ


3.2 ต้องการให้กลุ่มจังหวัดสามารถนำงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยออกมาใช้ต่อยอดในการพัฒนากลุ่มจังหวัดได้ แต่มีข้อจำกัดด้านการเผยแพร่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่สามารถนำผลหรือข้อค้นพบมาใช้ได้จริง ด้านงบประมาณสนับสนุน และติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์วิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นวพล แก้วสุวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

References

Arch-int, N. (2014). Semantic Web Technologies. KhonKaen: Krungnanawitthaya. [in Thai]

Arunmas, E. Plan and Strategic analysis, Office of Andaman strategies administration. (2018, September 28). Interview.

Bureau of Soil Survey and Land Use Planning. (2017). Regional information. Bangkok: Bureau of Soil Survey and Land Use Planning. [in Thai]

Chan, L.M. (1985). Cataloging and classification: an introduction. New York: McGraw-Hill Book.

Chanocha, P. (2017). Thailand 4.0 Moving. Retrieved August 29th, 2017, from http://thaigov. go.th/news/contents/details/3981

Kewsuwun, N. (2018). The Synthesis of Problems Needs and Strategies of 14 Southern Provinces Group Administrative Offices with Correspondence of Academic Branches from National Research Council. Parichart Journal, 32(1), 389-423. [in Thai]
Leekitwathana, P. (2010). Educational Research. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. [in Thai]

Mueanrit, N. (2013). The Information Architecture for Research Information Storage and Retrieval. Doctoral Dissertation in Information Studies, KhonKaen University. [in Thai]

Na Nuwong, S. Director, Office of Southern border strategies administration. (2018, September 29). Interview.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). National Economic and Social Development Plan, Issue 11, 2012-2016.Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. [in Thai]

Panawong, J. (2015). Development of Knowledge-based Recommender system of the Researches on Development of Northeastern Thailand.Doctoral Dissertation in Information Studies, KhonKaen University. [in Thai]

Pothisita, C. (2005). Science and art of quality research (7ed). Bangkok: Institute for Population and Social Research Mahidol University. [in Thai]

Prasitrathasin, S. (2003). Research Methodology in Social Sciences. Bangkok: Fueang fah Printing. [in Thai]