ผลกระทบทางการศึกษาของนิสิตปริญญาตรีที่ทำงานพิเศษระหว่างเรียน : กรณีศึกษา นิสิตภาคปกติมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานพิเศษระหว่างเรียน ศึกษาระดับของผลกระทบทางการศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางการศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากนิสิตปริญญาตรีที่มีการทำงานพิเศษระหว่างเรียน ของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการทำงานพิเศษส่วนใหญ่ประเภทบริการลูกค้า โดยรับข่าวสารงานจากญาติ/เพื่อน/คนรู้จัก ทำงานในช่วงค่ำและทำทุกวัน มีชั่วโมงการทำงาน 2.01 - 4.00 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่มีรายได้จากงาน 2,001 – 4,000 บาทต่อเดือน โดยมีเหตุผลเพื่อต้องการมีรายได้พิเศษ ส่วนระดับของผลกระทบทางการศึกษา ในด้านผลสัมฤทธิ์หลักสูตรและด้านผลการศึกษาส่วนใหญ่มีผลกระทบอยู่ในระดับน้อย ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพและด้านประสบการณ์ชีวิตส่วนใหญ่มีผลกระทบอยู่ในระดับมาก สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางการศึกษา ด้านผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร ได้แก่ ผลการเรียน พักอาศัยในหอพัก/ห้องเช่า/อื่น ๆ งานขาย งานบริการ และงานวิชาการ ด้านผลการเรียน ได้แก่ การเรียนในชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ ผลการเรียน พักอาศัยในหอพัก/ห้องเช่า/อื่น ๆ งานขาย งานบริการ และชั่วโมงการทำงาน ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ รายได้จากผู้ปกครอง งานวิชาการ และจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ และด้านประสบการณ์ชีวิต ได้แก่ รายได้จากผู้ปกครอง พักอาศัยในหอพัก/ห้องเช่า/อื่น ๆ และงานวิชาการ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Pongsomboon D. (2007). Impact of part-time work on the quality of life of students. Sripatum Review, 7(1),5-16. [in Thai]
Rochford C., Connolly M. and Drennan J. (2009). Paid part-time employment and academic performance of undergraduate nursing students. Nurse Education Today, 29(2009), 601-606.
Siriratanajit A. (2014). Leisure time behaviors and achievement of undergraduate students in Hatyai University.Processding of the 5th Hatyai National and International Conference. Hatyai District, Songkhla, 800-811. [in Thai]
Thaksin University. (2014). Educational information of Thaksin University academic year 2014. Retrieved September 15th, 2014, from http://www.tsu.ac.th [in Thai]
Triventi M. (2014). Does working during higher education affect students’ academic progression? Economics of Education Review, 41(2014), 1-13.