การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์นิเทศก์ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 5คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูประจำการที่ทางโรงเรียนเครือข่ายมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 414คน ผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายที่ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ส่งนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำนวน 10 คน อาจารย์นิเทศก์แต่ละสาขาที่ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต แต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์คำหลัก (Domain Analysis)พบว่า1) ข้อมูลสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 414 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 295 คน คิดเป็นร้อยละ 71.30 เพศชาย จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 28.70มีประสบการณ์ในการสอน มากกว่า 10 ปี จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 50.70 รองลงมา คือ 5 – 10 ปี จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 34.50 ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ มีนักเรียน 600 – 1,499 คน จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 40.60 รองลงมา คือ ขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียนตั้งแต่ 1,500 คน ขึ้นไป จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 29.00 เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 64.50 รองลงมา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 19.80 และเป็นครูพี่เลี้ยงนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 17.40 รองลงมา คือ สาขาภาษาอังกฤษ จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 16.202) การศึกษาการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มีการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่นักศึกษาชั้นปีที่ 5 มีการปฏิบัติงานสูงที่สุดได้แก่ มาตรฐานที่9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและมาตรฐานที่นักศึกษา มีการปฏิบัติงานต่ำที่สุด คือมาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอและ 3) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายและอาจารย์นิเทศก์แต่ละสาขา ในด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพิ่มเติมในด้านการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน และการปฏิบัติงานอื่น ๆ ร่วมกับบุคลากรในสถานศึกษา ดังนี้3.1) ด้านการจัดการเรียนรู้ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำไปจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้จริงเลือกและผลิตสื่อมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ พัฒนาตนเองด้านเนื้อหาความรู้ ทักษะในการจัดการเรียนรู้เพิ่มเติม3.2) ด้านการพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติการสอน พัฒนาผู้เรียนตามความรู้ ความสามารถเป็นรายบุคคล ใส่ใจและดูแลนักเรียนด้วยความรัก ความห่วงใยเป็นที่ปรึกษาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน และ 3.3) การปฏิบัติงานอื่น ๆ ร่วมกับบุคลากรในสถานศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากรในโรงเรียน มีน้ำใจมีจิตสาธารณะ คอยช่วยเหลืองานครูพี่เลี้ยง ครูคนอื่น ๆ และงานของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ แต่งกายเป็นระเบียบเรียบร้อย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
JirapaJunsuksri. (2011). Teachers’ Performance Based on Teacher Professional Standard Principals in Teacher Practices in Schools in Krabi Province.Term Paper of Master of Education Program in Educational Administration. Pathumthani:Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.
KamonchatAunyot and SupapornTangdhumnoensawas. (2016). Teachers’ Performance Based on Teacher Professional Standard Principals in Teacher Practices in Schools Under Bangkok Primary Educational Service Area Office.Bangkok :Suan Dusit Rajabhat University.
Manat Mongkolachat.(2007). Quality Level of Professional Autonomy in Education. Thesis of Master of Education Program in Educational Administration.Faculty of Education. Bangkok :Burapha University.
NumsukWangphien and SomchaiThepseang. (2013). Teachers’ Performance Based on Teacher Professional Standard Principals in Teacher Practices in Schools in Pathumthani Province.
SupangChantavanich. (2013).Qualitative Research.Bangkok :Chulalongkorn University Press.
SuwetaRoekkasem, ThitipornPichayakul and OrasaKosalanantakul. (2009). Work Performance Based on Teacher Professional Standards at Private Schools in Pranakorn Sri Ayutthaya Province.Thesis of Master of EducationProgram in Educational Administration. Pathumthani:ValayaAlongkornRajabhat University under the Royal Patronage.
The Teachers’ Council of Thailand. (2013). Work Manual for Renewal of Teaching License.
Bangkok :Teachers Council of Thailand, LadpraoPress.
______.(1989). The Features of Professional teacher Based on Teacher Professional Standard Principals.Bangkok :Teachers Council of Thailand, LadpraoPress.
______.(2006)Work Manualfor teachers and Educational Personnel. Bangkok :Teachers Council of Thailand, LadpraoPress.
______.(2008).Teachers and Educational Personnel Council Act. Bangkok :Teachers Council of Thailand, LadpraoPress.
Wannavit Ratanasutikul. (2009). The Teachers Councils Professional Standards Relating to Their Teaching Behavior Regarding the Primary School Teachers in Ratchaburi. Thesis of Master of Education Program in Educational Administration.Faculty of Education. NakhonPathom: Silpakorn University.