การพัฒนารูปแบบธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร และพัฒนาแนวทางการพัฒนาธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนครรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสมุนไพรไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาและทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ จึงกำหนดให้มีการจัดทำแผนการพัฒนาที่เป็นระบบอย่างยั่งยืนขึ้น จึงได้ประกาศแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งแผนแม่บทฉบับนี้ นอกจากจะมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้วยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการผลิตและใช้ประโยชน์สมุนไพรไทยอย่างมีคุณภาพ เต็มประสิทธิภาพ และครบวงจร ซึ่งจะส่งผลต่อ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของสมุนไพรไทย และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ประกอบการเอกชนในจังหวัดสกลนคร ที่มีการดำเนินการธุรกิจไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 2 ราย เป็นการดำเนินธุรกิจ และการจัดการธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ลักษณะของการประกอบธุรกิจสมุนไพรที่ครบวงจรใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกตลอดจนการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร นั้นเป็นรูปแบบธุรกิจครอบครัว ใช้แรงงานคนในชุมชน การรับซื้อวัตถุดิบสมุนไพรจากกลุ่มชาวบ้านที่มีการปลูกแบบผสมผสาน อินทรีย์ ในการจัดการโรงงานผลิตสมุนไพร ส่วนการพัฒนารูปแบบธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่จะต้องไปส่งเสริมสนับสนุนการผลิตสมุนไพรให้ได้ตามมาตรฐานสากล และการส่งเสริมการใช้สมุนไพรตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ส่งเสริมการทำการตลาดสมุนไพรในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อเป็นรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Ministry of Public Health. (2016). The National Master Plan on Thai Herb Development No.1 2017-2021 (1).TS Entertainment Print: Bangkok. [in Thai]
RatchaneePetsiwach. (2016). Management of herb businesses to promote local careers in Uttaradit province.Circuit. Research for Spatial Development. 8 (1), 62-77.Food and Drug Administration. (No date) [in Thai]
Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). National Master Plan on Thai Herb Development No. 1 B.E. 2560-2021 (1). TS Enter Print: Bangkok.[in Thai]