“ม้าทรง”ความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติการในพื้นที่พิธีกรรมงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง“กิมซิ้นกับม้าทรง : ความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ในพื้นที่พิธีกรรมของคนจีนจังหวัดภูเก็ต”โดยศึกษาม้าทรงในบทบาทของความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ในพื้นที่ประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตโดยเก็บข้อมูลวิจัยภาคสนามในศาลเจ้า และในงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต มีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมในศาลเจ้า และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคติ ความเชื่อของบรรพบุรุษคนจีนฮกเกี้ยน เรื่องความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ของม้าทรงที่ปฏิบัติการในพื้นที่พิธีกรรมพบว่า ม้าทรงเป็นผู้ที่องค์เทพคัดเลือกโดยใช้ร่างกายของมนุษย์ประทับร่างทรงเพื่อเป็นตัวกลางติดต่อระหว่างมนุษย์กับองค์เทพในการประกอบพิธีกรรมมี “กิมซิ้น” ประติมากรรมรูปเคารพทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์เทพ ด้านม้าทรงในมิติปฏิสัมพันธ์ทางวิญญาณและกระบวนการกลายเป็นม้าทรงที่ก่อเกิดความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย 1) มิติและปฏิสัมพันธ์ทางวิญญาณที่ส่งผลต่อการกำเนิดของม้าทรงในพื้นที่พิธีกรรมพบว่า ช่วงการประทับทรง ดวงวิญญาณองค์เทพเข้าไปครอบครองและมีอำนาจ ควบคุมจิตวิญญาณและทับซ้อนภายในพื้นที่ร่างกายของมนุษย์คนทรงจึงเป็นคนกลางทำหน้าที่สื่อสารกับวิญญาณองค์เทพและ 2)องค์เทพกับม้าทรงกระบวนการกลายความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์พบว่าร่างทรงทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้องค์เทพลงมาสร้างบารมีและเชื่อมโยงให้เกิดกระแสจิตในการเข้าประทับทรงและด้านบทบาทของม้าทรงช่วงภาวะพิเศษกับภาพแทนในความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ต่อการปฏิบัติในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วย 1) ภาพแทนขององค์เทพที่ปรากฏความเป็นเทพในมนุษย์บนพื้นที่พิธีกรรมพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนและรูปลักษณ์ขององค์เทพเสมือนเป็นการลอกเลียนแบบความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นเทพ โดยมีกิมซิ้นที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ มีม้าทรงเป็นผู้ถอดแบบความเป็นเทพในร่างมนุษย์ 2) ภาพลักษณ์ของม้าทรงต่อการดำรงตนในความเป็นเทพ ความเป็นมนุษย์ในพื้นที่ศาลเจ้าพบว่า “ม้าทรง” เป็นภาพลักษณ์ของความเชื่อที่มีลักษณะพหุเทวนิยม ความเป็นเทพ ความเป็นมนุษย์ในเชิงสัญลักษณ์ และ 3)การแสดงออกทางพฤติกรรมในการแสดงอภินิหารของม้าทรงพบว่า ม้าทรงแสดงอภินิหารต่าง ๆ เพื่อรับเคราะห์กรรมแทนมวลมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนามหายาน และความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Barthes, R. (Prachakul, N. Translated). (2008). Myth. Bangkok: Kobfai. [In Thai]
Boonmee, T. (2008). Ferdinand de Saussure’s Revolution of Postmodernism. Bangkok: Vibhasa. [in Thai]
____________.(2008). Michel Foucault.Bangkok: Vibhasa. [in Thai]
Chantavanich, S. (2014). Sociological theory. (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]
Charoensin-o-larn, C. (2011). Development Discourse : Power Knowledge Truth Identity and Other Beings. (5th ed.). Bangkok: Selective Language. [in Thai]
Duangwises, N. (2017). Anthropological Concepts and the Studies of Animistic Beliefs in Thai Society. Journal of Humanities and Social Sciences, 25(47), pp. 173-197. [In Thai]
Durkheim, E. (1965). The Elementary Forms of the Religious Life. New York: The Free Pree.
Hall, S. Evans, J., & Nixon, S. (2013). Representation Second Edition. India: Great Britain.
Jantaronanont, P. (2003). Chinese way. Bangkok: praphansarn. [In Thai]
Manujuntharat,.S. (2008). The New Phenomenon of Vegetarian Custom in Phuket: A Case Study of JuiTui Tao Bo Keang Chinese Temple. Master’s thesis in Thai studies, Sukhothai Thammathirat University. [In Thai]
Phaitayawat, S. (2002). A study of the Mediums of Chinese Sacrificial Shrines in Phang-nga and Phuket. Bangkok: National Research Council of Thailand. [In Thai]
Phuttharat,P(2008). The mystery of time: the 4 thdimension of everything in the universe. Bangkok: Saengdao. [In Thai]
Samuthakhup, S. et al. (1996). Spirit-Medium Cult Discourses and Crisis of Modernity in Thailand. Bangkok: SAC Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. [In Thai]
Santasombat, Y. ( 2005). Humans and Culture.(3rd ed.). Bangkok: Thammasat University. [In Thai]
Sikkhakosol, T. & Convertible Name. (2005). On the Understanding of Vegetarianism, a Special Article on Understanding about Vegetarianism. Bangkok: Morality Broadcasting Association. [in Thai]
Tanabe, S. (Fuengfuskul, A. Translated). (2012). Rituals and Practices in Society.Farmers of Northern Thailand. in the Procession of Memory in the Ritual: The Process of Recognition in the Ceremonies in the Northern Region of Thailand.(pp.113 – 140).Chiang Mai: Center for Ethnic Studies and Development Chiang Mai University. [in Thai]
Wang, W. (2014). History and conceptsChinese architecture.KhonKaen: KhonKaen University. [In Thai]
Wiruchnipawan, Nipawan. (1989). Medium :Their roles and Functions in the Thai socity a case study of Amphoe Muang, Changwat Chachoengsao. Master’s thesis in Anthropology, Silpakorn University.[In Thai]