ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

Main Article Content

อุทิศ คลองวะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยป่าปก จำนวน 8 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.95 - 4.96, S.D.=0.20 - 0.21) และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.73 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกสัน


ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 7.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.62 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.75 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.75 คิดเป็นร้อยละ 78.75 ของคะแนนเต็ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Academic Affairs and Education Standards. (2002). Guidelines for organizing learner development activities According to the core curriculum of basic education. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Buttakhieo, J. (2008). The Development of Learning and teaching actives learning achievement and scientific problem solving on the topic of electricity of mathayom three students by using inquiry cycle (5Es). Master of Education Thesis in Science Education, Graduate School, Khon Kaen University.

Chamnankit, B. (2007). research methodology. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University.

Hemaprasit, S. (2000). Constructivism. Encyclopedia in Education. 21, 91 - 96.

Khammani, T. (2018). Science of teaching: Body of knowledge for effective management of learning process (18thed.). Bangkok: Darnsutha Press.

Ministry of Education. (2013). The basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Phankhat, O. (2016). A Study of academic achievement in science and analytical thinking skills of seven grade students at the Demonstration School of Ramkhamhaeng University Taught by the Inquiry Instructional Method. Research Fund. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Satitpibool, A. (2007). The Development Critical Thinking Skill and Learning Achievement in Chemistry for Mathayomsuksa V Students with the use of Inquiry Process. Master of Education Thesis in Science Education, Graduate School, Khon Kaen University.

Sota, L. (2002). The development of teaching and learning science activities for matayomsuksa I students using inquiry training with concept map. Master of Education Thesis in Science Education, Graduate School, Khon Kaen University.

Sunanchai, S. (1997). Basic education. Report to the Office of the National Education Commission. (Copy document)

Sutthirat, C. (2018). 80 Child centered learning innovation. Nonthaburi: P Balance D Science Printing.

The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). The development of biology learning by inquiry method. Bangkok: Author.

Thongchumnum, P. (2004). Teaching the science of elementary education. Bangkok: Odeon Store.