การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน สำหรับการเรียนการสอนสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Chinese Skill, Hello Chinese, Learn Pinyin และ Pinyin Master ใช้ในการเรียนการสอนสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการในรูปแบบงานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อวิเคราะห์การทำงาน 3 ขั้นตอนของแอปพลิเคชันเฉพาะรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสัทอักษรจีน (พินอิน) กล่าวคือ 1) ขั้นตอนการเรียนรู้ 2) ขั้นตอนการทบทวน และ 3) ขั้นตอนการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาร์ทโฟนที่ติดตั้งแอปพลิเคชันชื่อ Chinese Skill , Hello Chinese , Learn Pinyin และ Pinyin Master ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้งานของแอปพลิเคชัน Chinese Skill, Hello Chinese, Learn Pinyin และ Pinyin Master สามารถใช้งานได้ในทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) แอปพลิเคชัน Learn Pinyin มีความเหมาะสมกับผู้เรียนชาวไทยมากที่สุด ทั้งในขั้นตอนการเรียนรู้ที่มีทั้งการเรียนรู้แยกตามหน่วยเสียงและการประสมคำ ผู้เรียนสามารถเลือกคำอธิบายทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกทั้งมีตัวอย่างอักษรจีนพร้อมภาพประกอบในส่วนขั้นตอนการทบทวน ผู้เรียนยังสามารถเลือกทำแบบทดสอบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ได้ 3 รูปแบบ 3) ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน Chinese Skill, Hello Chinese , Learn Pinyin และ Pinyin Master สำหรับจัดการเรียนการสอนสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) ให้เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนและช่วยลดข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลาในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางหนึ่งให้ผู้สอนตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้สมาร์ทโฟนในการจัดการเรียนการสอนนอกเหนือจากการเล่นสื่อโซเซียล โดยแนะนำให้ผู้เรียนติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าวเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
App Store. Chinese Pinyin. Retrieved December 11, 2020, form https://play.google.com/store/apps/details?id=com.qbq.pinyin_new&hl=th&gl=US
Huanarom, Y. (2018). Mobile application for teaching elementary chinese. Panyapiwat Journal, 10, 305 - 315.
Sankaburanurak, S. (2017). Multimedia and technologies for teaching Chinese Language in 21st Century. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 1239 - 1256.
Suchonvanich, J. (2018). Teaching chinese as a foreign language with information and communication technology (ICT): a case study of the people’s Republic of China. KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Study), 6(2), 1 – 13.
Wanichsan, D. Huangkasem, S. Orachon. N. Suttipong, P. Booncherd, R. (2019). Interactive Media Learning in Basic Chinese based on Pinyin. Information Technology Journal, 15(1), 22 – 31.
Watthananukul, Ph. (2017). Behavior and Factors of Smartphone Usage among Adolescents. Bachelor of Science Program in Statistical Information, Khonkaen University.
Worapitbenja, P. Kinnoo, J. Srisom, N. (2015). The development learning managements system application of virtual classrooms on mobile device. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 58 - 67.