ถอดบทเรียนการออกแบบรายวิชาและกิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง และจิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Main Article Content

ดิเรก หมานมานะ
ซัมซู สาอุ
อริศ หัสมา
อสมา มังกรชัย
สุธีรา โกมลมาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้เกิดขึ้นจากการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้วิธีวิทยาการถอดบทเรียนควบคู่กับปฏิบัติการในชั้นเรียน แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม 2) การปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 3) การถอดบทเรียน ทำการศึกษาในรายวิชา 117-102 ความเป็นพลเมืองและจิตอาสา ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาดังกล่าว ของภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาในชั้นเรียนทั้งสิ้น 127 คน โดยบทความนี้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การออกแบบรายวิชา โดยใช้การสนทนากลุ่มคณาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) การออกแบบกิจกรรมผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา โดยจัดเนื้อหา ประกอบด้วย ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ความเป็นพลเมืองโลก กฎและกฎหมาย ความเท่าเทียมในสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม การเป็นผู้ประกอบการทางสังคม การช่วยฟื้นคืนชีพ และการบำเพ็ญประโยชน์กับผู้อื่นโดยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการผนวกการเรียนรู้รายวิชานี้เข้ากับกิจกรรมศรีตรังสะพรั่งบาน และ 3) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการสะท้อนคิดของนักศึกษา ใช้การประเมินการเรียนรู้และการสะท้อนคิดรายกิจกรรมและโครงงานรายวิชาของนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atikiat, K. and Santhuenkaew, T. (2016). Modern teaching and innovative teaching techniques. Retrieved November 10th, 2019, from http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf

Education and innovative learning academy, Prince of Songkla university. (2019). Teaching systems and mechanisms. Retrieved September 12nd, 2020. from https://eila.psu.ac.th/curriculum/edudata/

Nimpanich, J. (2006). Thailand's development strategy under the national development plan. In the course contents 83705 Development process and public choice. Sukhothai Thammathirat Open University.

Phanit, W. (2012). A way to create learning for students in the 21st century. Sodsri-Saridwong foundation.

Satha- Anand, C. (2015, May 20). Lecture on understanding citizens in the 21stcentury In seminar report 2nd public forum on learning to live together: Global citizen, ASEAN citizen, (pp. 1 - 3). Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Tangkitvanich, S. (2013). Fundamental education reform for the learning of the 21st century. National statistical office.