การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อการสอนประเภทนิทานอธิบายเหตุ

Main Article Content

ปพิชญา พรหมกันธา
พัทธนันท์ พาป้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อการสอนประเภทนิทานอธิบายเหตุ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานอธิบายเหตุ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานอธิบายเหตุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจสอบและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนใช้สถิติการทดสอบ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานอธิบายเหตุสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้นิทานอธิบายเหตุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นิทานอธิบายเหตุ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaowalitpraphun, P. (2007). A study of Buarai's tale as a story explaining the cause. Journal of Humanities and Social Sciences, 2(2), 119-145.

Chuampang, C. (2010). Research, curriculum and teaching (2nd ed.). Mahasarakham University.

Mueannin, W. (2013). Reading comprehension. (2nd ed.). Suveiriyasarn.

Naksawat, T. (2015). Storytelling with pictures to develop the ability to write, spell words mixed with transformed vowels of children with learning disabilities. [Master’s thesis, Silpakorn University]. Retrieved September 9th, 2020 from http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/138/1/3.55261305%20ธริตา%20นาคสวัสดิ์.pdf

Onchak, S. (2005). A study of the reading comprehension of children with learning probleme Grade 2 from teaching reading using fairy tales for pictures. [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University.

Ou-oun, W. (2007). The data analysis in qualitative research. (9th ed.). Chulalongkorn University.

Panyachan, P and Wisasa, C. (2002). How to tell stories for fun. Praew Puean Dek.

Phapor, P. (2012). A comparison of the reading achievement comprehension of Thai language subjects of Grade 4 students at Thai-Chinese International School, Samut Prakan Province between groups teaching using Thai folk tales and groups teaching using international folk tale as a media. [Master’s Thesis]. Ramkhamhaeng University. Retrieved September 9th, 2020 from https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=53&RecId=11353&obj_id=80762&showmenu=no

Rienkasemsakul, S. (2015). The development of reading aloud skills by using stories of students Grade 2/9. Assumption College (Primary Section).

Royal Academy. (2011). Royal Academy Dictionary 2011. Nanmee Books Publications.

Somprayoon, W. (2010). Thai language teaching at the elementary level. Thai Wattana Panich Printing House

Sri-sa-ard, B. (2013). Preliminary research (9th ed). Suveiriyasarn.

Wai Rop, S. (2012). The development of reading comprehension from stories using the KWL technique (K W L) of Grade 1 students at Suan Sunandha Rajabhat University Demonstration School. Suan Sunandha Rajabhat University.

Waibanthao, W and Swekwi, U. (2020). Learning management by using tale to develop Thai reading abilities of grade 1 students. MBU Education Journal : Faculty of Education Mahamakut Buddhist University. 8(1), 230-240.

Yanaprateep, T. (2002). Writing literature for children (3rd ed.). Ramkhamhaeng University Press.