ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่

Main Article Content

บูรณพงศ์ เพชรล้วน
อดุล นาคะโร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 26 คน และครูผู้สอน จำนวน 215 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่าง ๆ และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่เท่ากับ .98 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?x\bar{}) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาโดยใช้ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) โดยใช้วิธีการ Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ปัจจัยเกี่ยวกับผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{} = 4.40) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับผู้บริหาร ด้านพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร (การเป็นผู้นำทางวิชาการ) อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 4.50) ปัจจัยเกี่ยวกับครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 4.42) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับครู ด้านคุณลักษณะของครูอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}) = 4.44) ปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}) = 4.06) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียน ด้านการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅ = 4.10)
2. ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{} = 4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การแก้ปัญหาภายในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 4.50)
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ทั้ง 4 ด้านส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ด้านการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง (gif.latex?x_{8}) ด้านพฤติกรรมการเรียน (gif.latex?x_{7}) ด้านการตัดสินใจของผู้บริหาร (gif.latex?x_{2}) และด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร (gif.latex?x^{_{4}}) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R Square) เท่ากับ 0.745 แสดงว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ ด้านการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านการตัดสินใจของผู้บริหาร และด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สามารถทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ได้ร้อยละ 74.50 โดยมีสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ ดังนี้
สมการการถดถอยเชิงพหุ
gif.latex?Y\hat{}&space;=&space;1.16&space;+&space;0.22&space;(x_{8})&space;+&space;0.21&space;(x_{7})&space;+&space;0.16&space;(x_{2})&space;+&space;0.14&space;(x_{4}) หรือ
สมการความถดถอยเชิงพหุมาตรฐาน
gif.latex?Z_{Y}&space;=&space;0.29&space;(x_{8})&space;+&space;0.27&space;(x_{7})&space;+&space;0.21&space;()x_{2})&space;+&space;0.18&space;(x_{4})

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiangkul, W. (2009). Report on the state of education in Thailand 2008/2009 Problems on equality and the quality of education in Thailand. Office of the Education Council.

Department of General Education. (2001). National Education Act 1999 as amended (No. 2). Department of Education. Ministry of Education.

Feuerstein, A. (2000). School characteristics and parent involvement: Influences on participation in children's schools. The Journal of Educational Research, 94(1), 29-40.

Hoy, K.W., & Miskel, C.G., (1991). Educational Administration : Theory Research and Practice: (4th ed.). Harper & Collins.

Leekitwattana, P. (2012). Educational research. Faculty of Industrial Education. King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.

Office of the Education Council. (2009). Thai Education Conditions 2007/2008 Problems with Equality and Quality of Thai Education. Office of the Education Council.

Office of the Private Education Commission. (2011). Private education statistics year 2011 (preliminary) Type of private schools in the system. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education.

Office of the Private Education Commission. (2013). Strategic Plan to Promote Private Education 2013 – 2017. Printing House, Office of the Commission for Promotion of the Welfare and Welfare of Teachers and Educational Personnel

Office of the Private Education Commission. (2014). Introduce Private Education Promotion Committee Office. Retrieved January 25, 2014 https://sites.google.com/a/opec.go.th/opec/naeana-sch

Office of the Private Education Commission. (2014). Private School Law 2007. Retrieved January 25, 2014 from https://drive.google.com/viewerng/a/opec.go.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=b3BlYy5nby50aHxvcGVjfGd4OjIxNzkxYzFhNGU3YTQwNjc

Pimanman, P. (2001). Factors affecting the effectiveness of private elementary schools. In the school district 2. [Master’s thesis]. Prince of Songkla University

Rakthai, Y and Makasiranon, T. (2006). Techniques for solving problems and making decisions. Expernet.

Seukrasae, T. (2013). Strategic Management of Private Schools towards Excellence. Veridian E-Journal Silpakorn University Humanities, Social Sciences and arts). 6(3), 124 - 140

Simon, B. (2001). Politicized collective identity: A social psychological analysis. American Psychologist, 56(4), 319 - 331

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness : A Behavioral View. Goodyear.

Thabutr, C. (2004). Relationship between academic leadership roles of school administrators. With adjusting the teacher behavior according to the teacher professional standard criteria in the basic educational institutions Under the Office of the Sakon Nakhon Educational Service Area, District 3. [Master’s thesis]. Sukhothai Thammathirat Open University.

Thaniwan, N. (2010). Factors Affecting School Effectiveness. Under the Office of the Yasothon Educational Service Area. [Master’s thesis]. Burapha University.

Thepsaeng, S. (2005). A study of some factors affecting the overall quality management of high school administrators under the Office of the Basic Education Commission in the Educational Area of Bangkok. [Doctoral dissertation]. Srinakharinwirot University.

Udom, S. (2004). Factors affecting the success of private primary school administration in the southern region. [Master's thesis]. Chulalongkorn University.

Wasupat, S. (2008). Academic Leadership And competencies of school administrators affecting the success of school-based administration. Kasetsart University.

Zammuto, R.F. (1982). Assessing Organizational Effectiveness, System Change, Adaptation and Strategy. State University of New York Press.